Tuesday, March 16, 2010

พท.ชี้ลาออกไม่เกิดประโยชน์อยู่กดดันในสภาดีกว่า

พท.ชี้ลาออกไม่เกิดประโยชน์อยู่กดดันในสภาดีกว่า



คมชัดลึก : "เสื้อแดง เสนอให้ส.ส.เพื่อไทยลาออก กดดันรัฐบาลยุบสภา เพื่อไทย ชี้ ไม่เกิดประโยชน์ สู้อยู่กดดันในสภาอีกทางดีกว่า แต่พร้อมทำตามเสียงส่วนใหญ พร้อมเสนอแนวทางกดดันให้ส.ส.ลาประชุมหยุดปฏิบัติงานแทน แฉ แกนนำแดงหลายคนจะได้ลงส.ส.หากเรียกร้องยุบสภาสำเร็จ






(16 มี.ค.) น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ส.ส.กทม.พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงข้อเสนอของนปช.ที่จะให้ส.ส.ของพรรคเพื่อไทยลาออกจากส.ส.เพื่อเป็นการกดดันรัฐบาลให้ยุบสภาว่า เรื่องนี้ส.ส.ในพรรคต้องมีการพูดคุย เราทำทุกอย่างเป็นระบบพรรค หากในพรรคว่าอย่างไรก็ว่าไปตามนั้น แต่ในอดีตที่ผ่านก็เคยมีการทำอย่างนี้แล้ว แต่ก็ไม่สามารถกดดันรัฐบาลประชาธิปัตย์ในตอนนั้นได้ ซึ่งตนคิดว่าแนวทางที่จะกดดันนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มากที่สุดคือพรรคร่วมรัฐบาลที่หากจะมีการถอนตัวหรือลาออก เพราะจะเกิดผบกระทบต่อเสียงข้างมากของรัฐบาล
 นายสามารถ แก้วมีชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ในฐานะส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า เรื่องนี้ส.ส.ของพรรคจะต้องปรึกษากันเพื่อหาข้อสรุปให้ดีที่สุด เพราะส.ส.ของรัฐบาลมีอยู่ 275 เสียง ซึ่งเกินกึ่งหนึ่งอยู่แล้ว ต้องมาดูว่าหากส.ส.พรรคเพื่อไทยลาออกแล้วจะมีผลอย่างไร ผลก็คือไม่มีฝ่ายค้านในสภา ซึ่งอดีตที่ผ่านมาก็เคยเกิดกรณีเช่นนี้ เมื่อพรรคความหวังใหม่ของพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ลาออก แต่ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ก็ยังอยู่เป็นรัฐบาลต่อไป อย่างนี้ก็มีตัวอย่างให้ดูอยู่สำหรับการทำงานของพรรคประชาธิปัตย์
 “เราจะต้องมาพิจารณาผลดีผลเสียให้รอบคอบ กดดันรัฐบาลได้จริงหรือไม่ ไม่ใช่ว่าเราไม่กล้าที่จะเสียสละตำแหน่งส.ส. เพราะข้องเรียกร้องของเราคือยุบสภาก็เป็นการไม่ได้ยึดติดกับตำแหน่งส.ส.อยู่แล้ว” นายสามารถ กล่าว
 นายสามารถ กล่าวว่า เรื่องนี้ส.ส.ของพรรคทุกคนต้องมาหารือกัน ทุกคนต้องได้แสดงความเห็น เนื่องจากเป็นเอกสิทธิ์ของส.ส.แต่ละคนในการตัดสินใจ แต่ถ้าส.ส.ของพรรคส่วนใหญ่ว่าอย่างไร พร้อมใจกันลาออกตนก็พร้อมทำตาม แต่อย่างไรก็ดีเรื่องนี้ได้มีส.ส.เสนอในที่ประชุมพรรคคราวที่แล้ว โดยส.ส.หลายคนได้แสดงความเห็นว่ากลัวจะเหมือนเมื่อครั้งพรรคความหวังใหม่ลาออก การหารือครั้งนั้นก็ถือว่าจบไป
 นายสามารถ กล่าวว่า ส่วนตัวคิดการทำอย่างนี้ไม่น่าจะกดดันได้จริง เพราะว่าพรรคประชาธิปัตย์เคยมีประวัติเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ ซึ่งเขาก็อยู่เป็นรัฐบาลจนครบเทอม ดังนั้นหากเราไม่ลาออกส่วนหนึ่งก็ยังเป็นโอกาสให้เราได้ใช้เวทีสภาในการตรวจสอบรัฐบาล สื่อสารไปถึงประชาชน เช่นเรื่องการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ในส่วนของภาคประชาชาชนนอกสภาก็ว่ากัน อย่างนี้น่าจะมีน้ำหนักมากกว่า แต่ถ้าทิ้งสภาไปก็จะเสียโอกาสตามรัฐธรรมนูญ ที่จะใช้เวทีสภาทำให้ประชาชนเห็นว่ารัฐบาลหมดความชอบธรรมในการบริหารแล้ว นอกจากนี้หากลาออกจริงก็อาจเจอกระแสสังคมต่อว่าได้ว่าไม่ทำหน้าที่ส.ส. และต้องเสียงบประมาณเลือกตั้งซ่อม ดังนั้นส.ส.ของพรรคจะต้องชั่งน้ำหนักให้ดี
 นายชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า เรื่องนี้ในการประชุมพรรคคราวที่แล้วนางสาวอรุณี ชำนาญยา ส.ส.พะเยา ได้เสนอแนวคิดนี้ต่อที่ประชุมแต่ก็ยังไม่มีข้อสรุป ซึ่งเสียงส.ส.ส่วนใหญ่ว่าอย่างไรตนก็พร้อมทำตามนั้น แต่แนวทางหนึ่งที่ตนคิดว่าเหมาะสมกว่าการลาออกก็คือการหยุดปฏิบัติหน้าที่หรือการลาประชุม ด้วยเหตุผลคืออำนาจอธิปไตยหลัก 3 อย่างคือ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ รวมกับฝ่ายข้าราชการและประชาชน ไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ โดยอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติตอนนี้ที่รัฐบาลคุมเสียงข้างมาก ก็ไม่สามารถดำเนินการให้เป็นที่พึ่งของประชาชนได้ เห็นได้จากการประชุมภาล่มไปแล้วถึง 15 ครั้ง ด้านอำนาจบริหาร จะเห็นได้ว่าทุกกระทรวง ทบวง กรม เกิดการทุจริตให้เห็นเป็นระยะ การกู้เงินมาใช้ประโยชน์บริหารประเทศประชาชนรับได้ แต่กู้มาโกงอย่างนี้ประชาชนยอมรับไม่ได้ ส่วนอำนาจด้านตุลาการ จะเห็นได้ว่าถูกวิจารณ์อย่างหนักในช่วงที่ผ่านมาอย่างที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ทั้งเรื่องกระบวนการพิจารณาและเรื่องสองมาตรฐาน
 นายชวลิต กล่าวว่า ในส่วนของภาคข้าราชการ จะเห็นได้ว่าไม่เคยมีข้าราชการยุคใดถูกแทรกแซงมากเช่นนี้มาก่อน เห็นได้จากการซื้อขายตำแหน่งต่างๆ สุดท้ายก็เป็นภาคประชาชนที่เห็นองค์กรทั้ง 4 ไม่สามารถเดินหน้าได้ การเมืองภาคประชาชนจึงเกิดขึ้น เป็นการรวมตัวอย่างมหาศาลทั้งที่เห็นอยู่ และที่อยู่ในที่ตั้งอีกเป็นล้านๆคน ซึ่งพร้อมที่จะออกล้อมศาลากลางหรือมาชุมนุมที่กรุงเทพฯ จึงอยากจะบอกให้รัฐบาลรีบยุบสภาคืนอำนาจให้ประชาชน เพราะตอนนี้ประเทศกำลังนองเลือดภายใต้บังลังก์นายกฯที่นายอภิสิทธิ์กำลังนั่งอยู่ ขอให้นายอภิสิทธิ์อย่าฟังเสียงคนที่อยู่เบื้องหลัง เพราะตนรู้ว่านายอภิสิทธิ์เป็นนักการเมืองที่ดีแต่มีอำนาจบีบบังคับท่านอยู่ จึงอยากให้ยึดคำขวัญพรรคประชาธิปัตย์ว่าประชาชนต้องมาก่อน
 นายชวลิต กล่าวว่า ส่วนความเป็นรูปธรรมเรื่องการลาออกของส.ส.หรือการหยุดปฏิบัติหน้าที่นั้นจะต้องมีการหารือกันอีกว่ากดดันได้จริงหรือไม่ ต้องดูว่าส.ส.จะทำอะไรได้บ้าง การลาออก็เป็นการกดดันทางหนึ่งที่ต้องดูรัฐบาลว่าจะยอมเสียเงินเลือกตั้งซ่อมหรือไม่ แต่ส่วนตัวคิดว่าการหยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราวเป็นแนวทางกดดันที่ดีที่สุดเป็นการเจอกันครึ่งทาง เพราะหากมีเรื่องสำคัญที่ต้องใช้การตัดสินใจของสภา เราก็ยังสามารถร่วมกระบวนการได้ แต่เราจะไม่อยู่แบบประคองให้รัฐบาลอยู่ได้แน่นอน








ข่าวที่เกี่ยวข้องเข้มเฝ้าระวังบ้านบุคคลสำคัญ-สถานที่ราชการเจ้าชายญี่ปุ่นทรงยกเลิกแผนการเสด็จเยือนไทยศอ.รส.หวั่นม็อบแดงกระทบเชื่อมั่นแนะหลีกย่านการค้าเชื่อคนร้ายหวังยิงM79ใส่บ้าน"อักขราทร" สถานทูตสหรัฐยังนิ่งข่าวเตือนวินาศกรรมในไทย

NEWSblank ข่าวออนไลน์
เรียนภาษาอังกฤษ | หอพัก | ดาวน์โหลด | vol6

No comments:

Post a Comment

Blog Archive