Saturday, April 27, 2013

เลขาฯ สมช.เผย 9 คีย์แมนย์ถกบีอาร์เอ็น 29 เม.ย.

เลขาฯ สมช.เผย 9 คีย์แมนย์ถกบีอาร์เอ็น 29 เม.ย.
พล.ท.ภราดร เปิด 9 รายชื่อโต๊ะเล็กถกบีอาร์เอ็น 29 เม.ย.นี้ ส่วนใหญ่เป็นทีมงานชุดเดิม มีหน้าใหม่เพียงตัวแทนจากทัพภาค 4 ขานรับนายกฯ ลุยบัญชาการคุมดับไฟใต้ด้วยตัวเอง เชื่องานไหลลื่น ปัดเกิดความขัดแย้งระหว่าง นายกฯ กับ เฉลิม...เมื่อวันที่ 27 เม.ย. พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ในฐานะหัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติภาพฝ่ายไทย กับคณะตัวแทนแกนนำกลุ่มบีอาร์เอ็น ในวันที่ 29 เม.ย.นี้ เปิดเผยกับไทยรัฐออนไลน์ ว่า รายชื่อคณะที่จะเข้าร่วมเจรจา ชุด 9 คน ที่ขึ้นโต๊ะเจรจา ประกอบด้วย
ตน พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก รองปลัดกระทรวงกลาโหม พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) พล.อ.สำเร็จ ศรีหร่าย ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม พล.ต.ท.สฤษฎ์ชัย เอนกเวียง ผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล (ผบช.ส.) พล.ต.นักรบ บุญบัวทอง รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 5 (รอง ผอ.ศปป.5) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) นายประมุข ลมุล ผู้ว่าฯ ปัตตานี นายศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้ และนายอาซิส เบ็ญหาวัน ประธานสภาที่ปรึกษาเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีตัวแทนจากกองทัพภาค ที่ได้มอบหมายให้ พล.ต.ชรินทร์ อมรแก้ว เสนาธิการกองทัพภาคที่ 4 เข้าร่วมด้วย“องค์คณะที่เข้าร่วมประชุม กรอบการเจรจาจะเน้นในเนื้อหาต่อเนื่องจากการประชุมเมื่อคราวที่แล้ว ที่ได้ตกผลึกร่วมกันมีจำนวน 15 คนเช่นเดิม โดยจะมี 9 คนเท่านั้นที่จะอยู่ร่วมในวงเจรจา ทั้งนี้ ในจำนวน 9 คน ส่วนใหญ่ยังเป็นตัวแทน หลักจากภาคส่วนเดิมที่พูดคุยเมื่อครั้งที่ผ่านมา แต่จะเพิ่มเติมขึ้นมา 1 คน คือ ในส่วนของตัวแทนกองทัพภาคที่ 4 เพราะเป็นคนที่รับผิดชอบในพื้นที่ในด้านความมั่นคง โดยคณะตัวแทนฝ่ายผู้ก่อความไม่สงบกลุ่มบีอาร์เอ็น มี 1 คน และตัวแทนจากกลุ่มพูโล 5 คน รวม 6 คน” พล.ท.ภราดร กล่าวเมื่อถามว่ากรอบการเจรจาในครั้งนี้เน้นอะไรเป็นพิเศษ เลขาฯ สมช. กล่าวว่า จะต้องเน้นย้ำในเรื่องการลดเหตุความรุนแรง สถานการณ์ 1 เดือนที่ผ่านมา มีสภาพเป็นเช่นไร เพราะจากการพูดคุยครั้งก่อน เกิดเหตุต่างๆ ก็นำว่าพูดกันว่าจะต้องมาตื่นสภาพกันอย่างไร เกิดจากอะไร จากขบวนการของเขา หรือขบวนการอื่น หรือภัยแทรกซ้อน จะได้มาหารือพูดคุยกันเพื่อจะได้ข้อเท็จจริง และแสวงหาทางออก อย่างไรก็ตาม การพูดคุยครั้งนี้ไม่ได้เป็นครั้งสุดท้าย แต่เมื่อเกิดผลดีจะต้องมีวิวัฒนาการต่อยอดออกไป เพื่อเสริมสร้างความไว้วางใจกัน เราจะต้องค่อยๆ คุย ยิ่งเมื่อเกิดความไว้วางใจกันมากเท่าไหร่ ก็จะเริ่มปรากฏข้อเท็จจริงมากขึ้นในปัญหาเลขาฯ สมช. กล่าวอีกว่า การพูดคุยนั้น ทางเราประสงค์จะพูดคุยกับทุกกลุ่ม แต่เมื่อขบวนการบีอาร์เอ็นเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุด จะต้องพูดคุยก่อน เพราะปัญหาแต่ละกลุ่ม แต่ละพวกไม่เหมือนกัน จะต้องรับฟังแต่ละปัญหา แล้วมาบูรณาการจัดให้ตรงกันว่าอันไหนไปได้ อันไหนไปไม่ได้ จะได้หาทางออกร่วมกันพร้อมกันนี้ พล.ท.ภราดร ยังกล่าวถึงคำถามการเจรจาครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเชื่อมโยงไปถึงความพยายามรื้อฟื้นเหตุ 9 ปีกรือเซะ ด้วยหรือไม่ ว่า จะต้องดูผลจากวันที่ 28 เม.ย. 2556 แต่เหตุการณ์ประวัติศาสตร์กรือเซะ ส่วนใหญ่พี่น้องประชาชนในพื้นที่ไม่ประสงค์ที่จะนำกลับมากล่าวกันแล้ว ภาครัฐเองก็จะไม่พูดถึงเหตุการณ์ที่จะต้องมาเจ็บปวดร่วมกัน ส่วนเหตุการณ์ความไม้สงบเมื่อช่วงเช้าวันที่ 27 เม.ย. 2556 ใน จ.ปัตตานี ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะทุกครั้งเมื่อครบรอบก็มีเหตุเฝ้าระวังตามเดิม ขณะเดียวกัน พยายามไม่พูดถึงเหตุการณ์ไม่ดีในอดีตถามต่อว่าผู้ที่พยายามสร้างเหตุการณ์ มักอ้างอิงจดจำภาพอดีตของเหตุการณ์กรือเซะมาเป็นตัวก่อเหตุ ทางกองทัพและ สมช.ให้ราคาอย่างไร เลขาฯ สมช. กล่าวว่า เป็นสิ่งที่ไม่สมควรจะพูด ดังนั้น กองทัพและฝ่ายรัฐไม่ได้ให้ราคาอะไรอยู่แล้ว แต่จ้องมองอนาคตไปข้างหน้าร่วมกันเพื่อหาทางแก้ไข เพื่อให้สถานที่แห่งนี้เป็นประวัติศาสตร์ที่สวยงามมากกว่า และเดินไปตรงนั้น ส่วนการทำความเข้าใจกับผู้เห็นต่างคงยาก เพราะต้องการหยิบยกไปเป็นปัญหาเพื่อกระตุกฝ่ายจัดการ หรือรัฐ เป็นเรื่องของเขา แต่เราฟังเสียงจากประชาชนในพื้นที่เป็นหลัก ที่ควรจะเดินไปข้างหน้าเพื่อหาหนทางที่ดีนอกจากนี้ พล.ท.ภราดร ได้กล่าวถึงกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ในฐานะรอง ผอ.รมน. ระบุ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเป็นผู้ลงมากำกับดูแลงานการแก้ปัญหาภาคใต้ทั้งหมด ว่า โครงสร้างชัดเจนอยู่แล้วที่นายกฯ จะเป็นผู้รับผิดชอบ เพราะเป็นประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายยุทธศาสตร์และแก้ไขปัญหาความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กปต.) โดยมีศูนย์อำนวยการปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปก.กปต.) เป็นฝ่ายอำนวยการให้ จึงต้องเป็นความรับผิดชอบที่ท่านจะลงมากำชับ และน้ำหนักของท่านจะเน้นให้ผู้ที่อยู่กองหลังคือ กระทรวง ทบวง กรม 66 หน่วยงานไปสนับสนุนข้างหน้า ส่วน ศปก.กปต.ของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ ที่กำกับดูแล ก็จะเร่งงานข้างหน้าเป็นหลัก ซึ่งในเรื่องดังกล่าวก็มีผู้พยายามโยง หรือปล่อยข่าวว่าเกิดความขัดแย้งระหว่างนายกฯ กับ ร.ต.อ.เฉลิม ซึ่งจริงๆ ไม่มีอะไร“มีความเชื่อมั่นว่า เมื่อนายกฯ ลงมากำกับดูแลเอง งานจะเกิดประสิทธิภาพ และขับเคลื่อนไปได้เร็ว เพราะกองหลังที่เกี่ยวข้องจะได้เคลื่อนตัวได้เร็ว และมีการบูรณาการได้เร็ว เพราะสำนักงบประมาณ สภาพัฒน์ก็ลงมาช่วยของแผนงานการพัฒนาจากพื้นฐาน ในพื้นที่ ศอ.บต. สภาความมั่นคง กอ.รมน. ก็ว่ากันได้เต็มที่ ส่วนราชการอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในมิติโครงสร้างเหล่านี้ ก็สนับสนุนการดำเนินงานก็ไปได้ง่าย เมื่อนายกฯ มากำกับดูแลแผนงานต่างๆ ก็มีความรวดเร็วและตื่นตัว เพราะมีการประเมินทุกสัปดาห์” พล.ท.ภราดร กล่าวอย่างไรก็ตาม พล.ท.ภราดร ยังได้กล่าวถึงกรณีแผนงานที่ กอ.รมน.ได้ออกมาย้ำหลักการทำงานแบ่งพื้นที่จังหวัดชานแดนภาคใต้เป็น 3 ประเภท คือ สร้างความมั่นคง เร่งรัดการพัฒนา และเสริมสร้างการศึกษา ว่า การแบ่งพื้นที่จะได้เห็นสภาพข้อเท็จจริงและโครงการที่ลงไปก็จะเหมาะสม และการทำงานจะง่าย เห็นผลได้เร็วขึ้น ซึ่งการแบ่งพื้นที่สืบเนื่องจากที่นายกฯ นั่งประชุมหน่วยงานความมั่นคงคราวที่แล้ว ที่ได้พิจารณาร่วมกันของทุกหน่วย ทั้ง กอ.รมน. สมช. ศอ.บต. กองทัพบก แล้วมาตกผลึกร่วมกันตรงกันจึงมีการกำหนด และงบประมาณที่ลงไปก็จะเข้มข้นแต่ละแบบ.

Blog Archive