Wednesday, February 20, 2013

ปชป.จัดหนักโค้งสุดท้าย ระดมพลช่วยชายหมู

ปชป.จัดหนักโค้งสุดท้าย ระดมพลช่วยชายหมู
พรรคประชาธิปัตย์จัดหนัก โค้งสุดท้ายระดมพลช่วย ชายหมู 23 ก.พ.นี้ กระจายกำลังหาเสียงทุกพื้นที่ ใช้แฟนคลับบอกต่อเลือก สุขุมพันธุ์...วันที่ 20 ก.พ. ที่พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ผอ.ศูนย์อำนวยการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) พรรค ปชป. กล่าวถึงการรณรงค์หาเสียงของพรรคในช่วงโค้งสุดท้ายว่า ในวันที่ 23 ก.พ.นี้ พรรคจะมีการจัดกิจกรรม รวมพลคนหัวใจฟ้ารักกรุงเทพฯ โดยจะเป็นการรวบรวมแกนนำพรรค ทั้ง ส.ส., ส.ก., ส.ข., นายกอบจ., นายกอบต. หรือนายกเทศมนตรี ที่ทำงานในระดับท้องถิ่นในนามพรรคทั่วประเทศ มาร่วมรณรงค์ พร้อมกลุ่มเยาวชนของพรรคทุกกลุ่ม รวมทั้งมวลชนคนสนับสนุนพรรคอีกหลายกลุ่ม มาร่วมกันรณรงค์ในกิจกรรมดังกล่าว โดยกิจกรรมจะเริ่มเวลา 06.30 น. ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ซึ่งหลังจากการสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 5 ก่อนจะปล่อยขบวนรถหาเสียงไปทุกพื้นที่ของ กทม. เย็นปราศรัยใหญ่ ความจริงที่คนกรุงเทพฯ ต้องรู้นายองอาจ กล่าวต่อว่า จากนั้นเวลา 16.00 น. จะมีการรวมพลที่ลานคนเมืองหน้าศาลาว่าการ กทม. เพื่อจัดปราศรัยใหญ่ ภายใต้ หัวข้อ “ความจริงที่คนกรุงเทพฯ ต้องรู้” ซึ่งวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมดังกล่าว ก็เพื่อให้มีการรวมพลังคนประชาธิปัตย์ ผู้สนับสนุนและคนที่รักพรรค และเป็นการกระจายกำลังตะลุยหาเสียงทุกพื้นที่ทั่ว กทม. นอกจากนั้น ก็จะเป็นการเผยแพร่ความจริงหลายเรื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ที่คนกรุงเทพฯ ต้องรู้ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการเลือกผู้ว่าฯ กทม. ส่วนวันที่ 22 ก.พ. ก็จะมีการปราศรัยใหญ่ 2 จุด คือ ที่เขตมีนบุรี สนามข้างโรงเรียนศาลาคู้ เขตมีนบุรี และบริเวณแฟลตการเคหะคลองจั่น เขตบางกะปิ ส่วนวันที่ 24 ก.พ. จะมีการปราศรัยขนาดย่อมที่หมู่บ้านสินทวี พระราม 2 โดยมี ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ุ บริพัตร ผู้สมัครของพรรค และแกนนำพรรค ไปร่วมปราศรัยนายองอาจ กล่าวอีกว่า นอกจากมาตรการเหล่านี้ พรรคยังรณรงค์หาเสียงผ่านเวทีปราศรัยแล้ว พรรคประชาธิปัตย์ก็มีมวลชนที่สนับสนุนพรรคเคลื่อนไหวในการเป็นผู้ไปชักชวน ประชาชนให้ออกมาลงคะแนนให้กับผู้สมัครของพรรคด้วยการบอกต่อกับญาติพี่น้องและคนในครอบครัว การโทรศัพท์เชิญชวนคนรู้จักและคนใกล้ชิด รวมถึงการเชิญชวนเพื่อนร่วมงานให้ลงคะแนนเสียงให้ผู้สมัครของพรรคด้วย จึงเชื่อมั่นใจว่าจากการระดมกำลังทุกพื้นที่ และด้วยศักยภาพที่มีอยู่ของคนรักพรรค จะมีส่วนสำคัญในการทำให้ผู้สมัครของพรรคมีโอกาสได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้ว่าฯ กทม.

นิด้าชี้โพลโค้งสุดท้ายสุขุมพันธุ์ตามติดจูดี้ไม่ถึง 1%

นิด้าชี้โพลโค้งสุดท้ายสุขุมพันธุ์ตามติดจูดี้ไม่ถึง 1%
นิด้าโพล เผยเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.โค้งสุดท้าย คะแนน คุณชายหมู ไล่กระชั้นชิด จูดี้ ห่างไม่ถึง 1% โดยเฉพาะกรุงเทพฯ โซนกลางสูสี จับตาอีก 36.84% ยังไม่เลือกใคร เพราะรอดูนโยบาย ถือเป็นตัวแปรสำคัญ ว่าใครจะชนะในศึกเลือกตั้งครั้งนี้ ...เมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2556 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น นิด้าโพล  สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง คนกรุงฯ  กับการเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. โค้งที่ 5 ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 18 – 19 ก.พ.จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิ์เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ทั้ง 50 เขต จำนวน 1,485 หน่วยตัวอย่าง กระจายทุกระดับการศึกษา ทุกอาชีพ ซึ่ง เมื่อถามว่า หากวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง ท่านจะเลือกใครเป็นผู้ว่าฯ กทม. พบว่า คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 26.80 ระบุว่า จะเลือก พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ  รองลงมา ร้อยละ 25.86 จะเลือก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ร้อยละ 4.58 จะเลือก พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ร้อยละ 1.62 จะเลือก นายสุหฤท  สยามวาลา  ร้อยละ 0.67 จะเลือก นายโฆสิต สุวินิจจิต ร้อยละ 0.34 จะเลือก   ผู้สมัครอิสระ อื่นๆ เช่น นายณัฐดนัย  ภูเบศร์อรรถวิช  นายสมิตร  สมิทธินันท์   ร้อยละ 36.84 ที่ระบุว่ายังไม่ตัดสินใจ  และมีเพียงร้อยละ 3.30 ที่ระบุว่าไม่ลงคะแนนเสียง เมื่อวิเคราะห์จำแนกตามพื้นที่กรุงเทพฯ พบว่า พล.ต.อ.พงศพัศ มีคะแนนความนิยมสูงกว่าผู้สมัครรายอื่นๆ ในเขตพื้นที่ กรุงเทพฯ เหนือ, กรุงเทพฯ ตะวันออก , กรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรีเหนือ  และกรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรีใต้ ส่วน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ มีคะแนนความนิยมสูงกว่าผู้มัครรายอื่นๆ ในเขตพื้นที่ กรุงเทพฯ ใต้  ส่วนในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ กลางนั้น พล.ต.อ.พงศพัศ และ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ มีคะแนนความนิยมในสัดส่วนที่เท่ากัน เมื่อถามถึงเหตุผลที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกผู้สมัคร เป็นผู้ว่าฯ กทม. เมื่อเรียงตามลำดับหมายเลขผู้สมัคร ผู้ว่าฯ กทม. พบว่าเหตุผลที่เลือก พล.ต.อ.พงศพัศ ผู้สมัครหมายเลข 9 เพราะชอบที่ตัวบุคคล ทำงานเก่ง มีวิสัยทัศน์ และมีประสบการณ์ ร้อยละ 44.50 รองลงมา มีนโยบายที่ดีและน่าสนใจ ร้อยละ 22.00  สามารถทำงานและประสานงานร่วมกับรัฐบาลได้ดี  ร้อยละ 14.75 ชอบพรรคการเมือง (พรรคเพื่อไทย) ร้อยละ 14.50  การบริหารงาน กทม. ของพรรคประชาธิปัตย์ยังไม่ดีเท่าที่ควร ร้อยละ 3.50  และอยากเห็นการเปลี่ยนแปลง  อยากให้โอกาสคนอื่นๆ ลองเข้ามาทำงานดูบ้าง ร้อยละ 0.75 เหตุผลในการตัดสินใจเลือกนายโฆสิต ผู้สมัคร หมายเลข 10 เพราะมีนโยบายที่ดีและน่าสนใจ ร้อยละ 60.00 รองลงมา ชอบที่ตัวบุคคล เก่ง  มีวิสัยทัศน์ มีประสบการณ์ และเป็นผู้สมัครอิสระ ไม่สังกัดพรรค ในสัดส่วนที่เท่ากัน คือ ร้อยละ 20.00 เหตุผลที่เลือก พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ผู้สมัครหมายเลข 11 เพราะเป็นผู้สมัครอิสระ   ไม่สังกัดพรรค (กลุ่มพลังกรุงเทพฯ)  ร้อยละ 44.12 รองลงมา ชอบที่ตัวบุคคล เก่ง มีประสบการณ์ ร้อยละ 33.82  มีนโยบายที่ดีและน่าสนใจ  ร้อยละ 13.24  และ อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง  อยากให้โอกาสคนอื่นๆ ลองเข้ามาทำงานดูบ้าง ร้อยละ 4.41เหตุผลที่เลือก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์  ผู้สมัคร หมายเลข 16 สามารถสานต่อนโยบายเดิมได้ต่อเนื่อง ร้อยละ 32.82 รองลงมา ชอบที่ตัวบุคคล เก่ง มีประสบการณ์  ร้อยละ  30.75 ชอบพรรคการเมือง (พรรคประชาธิปัตย์) ร้อยละ 20.16 มีนโยบายที่ดีและน่าสนใจ  ร้อยละ 12.14 และ เป็นการรักษาฐานคะแนนเสียงพรรคประชาธิปัตย์  เกรงว่าพรรคเพื่อไทยจะได้รับคะแนนความนิยมมากกว่า ร้อยละ 3.36เหตุผลที่เลือก นายสุหฤท  ผู้สมัคร หมายเลข 17 มีนโยบายที่ดีและน่าสนใจ ร้อยละ 41.67 รองลงมา ร้อยละ 37.50 เป็นผู้สมัครอิสระ ไม่สังกัดพรรค และ ร้อยละ 20.83 ชอบตัวบุคคล มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เหตุผลที่เลือกผู้สมัครายอื่นๆ เช่น นายณัฐดนัย  ภูเบศร์อรรถวิช  นายสมิตร  สมิทธินันท์  ร้อยละ 80.00 ชอบที่ตัวบุคคล และมีนโยบายที่ดีและน่าสนใจ ร้อยละ 20.00 เมื่อถามถึงสาเหตุที่ยังไม่ตัดสินใจเลือกใครนั้น พบว่า ร้อยละ 62.16 ระบุว่า รอพิจารณาว่านโยบายใดเหมาะสม รองลงมา ร้อยละ 16.45 ระบุว่า ไม่มีใครน่าสนใจ และร้อยละ 0.55 รอดูผลโพล สำหรับการแบ่งพื้นที่ในการสำรวจ แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ดังนี้ 1. กลุ่มกรุงเทพฯ กลาง 9 เขต ได้แก่ เขตดินแดง เขตดุสิต เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตพญาไท เขตพระนคร เขตราชเทวี เขตวังทองหลาง เขตสัมพันธวงศ์ และเขตห้วยขวาง  2. กลุ่มกรุงเทพฯ ใต้ 10 เขต ได้แก่ เขตคลองเตย เขตบางคอแหลม เขตบางนา เขตบางรัก เขตปทุมวัน เขตพระโขนง เขตยานนาวา เขตวัฒนา เขตสวนหลวง และเขตสาทร 3. กลุ่มกรุงเทพฯ เหนือ 7 เขต ได้แก่ เขตจตุจักร เขตดอนเมือง เขตบางเขน เขตบางซื่อ เขตลาดพร้าว เขตสายไหม และเขตหลักสี่4. กลุ่มกรุงเทพฯ ตะวันออก 9 เขต ได้แก่ เขตคลองสามวา เขตคันนายาว เขตบางกะปิ เขตบึงกุ่ม เขตประเวศ เขตมีนบุรี เขตลาดกระบัง เขตสะพานสูง และเขตหนองจอก 5. กลุ่มกรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรีเหนือ 8 เขต ได้แก่ เขตคลองสาน เขตจอมทอง เขตตลิ่งชัน เขตทวีวัฒนา เขตธนบุรี เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกใหญ่ และเขตบางพลัด 6. กลุ่มกรุงเทพฯ ฝั่งธนบุรีใต้ 7 เขต ได้แก่ เขตทุ่งครุ เขตบางขุนเทียน เขตบางแค เขตบางบอน เขตภาษีเจริญ เขตราษฎร์บูรณะ และเขตหนองแขม   ด้าน รศ.ดร.ธวัชชัย ศุภดิษฐ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย และบริการวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวว่า คะแนนของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ เริ่มไล่กระชั้นคะแนนของ พล.ต.อ.พงศพัศ จากเดิมห่างกันประมาณ 2-3% เหลือเพียงไม่ถึง 1% ส่วนคะแนนของผู้สมัครรายอื่นไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ขณะที่จำนวนผู้ที่ยังไม่ตัดสินใจเริ่มมีจำนวนลดลง และเมื่อเปรียบเทียบจากข้อมูลการสำรวจ พบว่าผู้ที่เลือก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ส่วนผู้ที่เลือก พล.ต.อ.พงศพัศ ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี เมื่อพิจารณาข้อมูลจากผู้ที่ยังไม่ตัดสินใจ ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญในการตัดสินใจเลือกผู้ว่าฯ กทม. ครั้งนี้ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี เป็นคนรุ่นใหม่ และประกอบอาชีพในภาคเอกชน จึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ น่าจะมาแรงแซง พล.ต.อ.พงศพัศ  ในช่วงโค้งสุดท้าย เพราะคาดว่าผู้ที่ยังไม่ตัดสินใจ อาจมีการตัดสินใจไปบ้างแล้ว แต่ไม่บอกความนึกคิดของตนเองกับโพลออกมา.

เพื่อไทยรุกหนักเปิดตัวป้ายหาเสียงใหม่ 4 ชุด

เพื่อไทยรุกหนักเปิดตัวป้ายหาเสียงใหม่ 4 ชุด
เพื่อไทยรุกหนักเปิดตัวป้ายหาเสียงใหม่ 4 ชุด ชูแก้ปัญหาจราจร ลดอาชญากรรม ย้ำไร้รอยต่อ แต่ไม่ไร้การตรวจสอบ โวยป้ายหาเสียงถูกทำลายอื้อ จี้เจ้าหน้าที่กทม.คุมเข้มตรวจสอบ ...วันที่ 20 ก.พ. ที่พรรคเพื่อไทย นายดนุพร ปุณณกันต์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และโฆษกศูนย์อำนวยการการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า นอกจากนโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้สมัครผู้ว่าฯกทม. พรรคเพื่อไทย แถลงไปแล้ว พรรคเพื่อไทยยังมีการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอีกหลายด้าน เช่น การเพิ่มพื้นที่สีเขียว การแก้ปัญหาอุทกภัยจัดการน้ำอย่างสมดุลโดยไร้รอยต่อกับจังหวัดใกล้เคียง โดยประสานกับทุกกระทรวงเฝ้าระวังปัญหาอุทกภัยอย่างไรก็ตาม ขณะนี้พรรคได้รับการร้องเรียนว่า ป้ายหาเสียงของพรรคจำนวนมากถูกทำลาย จึงได้เปิดตัวป้ายหาเสียงชุดใหม่ 4 ป้าย คือ 1.โครงข่ายจราจรไร้รอยต่อเพื่อคนกทม. 2.เปลี่ยนแปลงใหม่ไร้รอยต่อ ไม่ไร้การตรวจสอบ 3.เปลี่ยนแปลงใหม่ ไร้รอยต่อ เพื่ออนาคตคนกทม. 4.ลดอาชญากรรม 20% ปีแรก ลดอาชญากรรม 50% นักท่องเที่ยว เด็ก สตรี คนชรา ลดความสูญเสียจากเพลิงไหม้และภัยพิบัติ 50% โดยป้ายชุดใหม่จะนำมาเสริมบางพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่ชั้นใน เพราะมีป้ายน้อย อยากฝากเจ้าหน้าที่ กทม. ช่วยดูแลป้ายหาเสียงผู้สมัครทุกคน เพราะถูกทำลายมาก แต่พรรคเพื่อไทยไม่มีนโยบายฟ้องร้อง แจ้งความเรื่องป้ายหาเสียง.

Blog Archive