Friday, February 22, 2013

เฉลิม อัด ปชป.ไม่สร้างสรรค์

เฉลิม อัด ปชป.ไม่สร้างสรรค์
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี อัด พรรคประชาธิปัตย์ เล่นการเมืองไม่สร้างสรรค์ มีหญิงอ้างตัวเป็นลูกสาวโผล่สภาฯ ยิ้มอีก ภรรยาเข้าใจ...           วันนี้ (22 ก.พ.56) เวลา 11.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี นายวัชระ เพชรทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ออกมาให้ข่าวกรณีมีผู้หญิงแอบอ้างเป็นลูกสาวของตนเองว่า ไม่มีอะไร เพราะภรรยาที่บ้านเข้าใจ ก็หัวเราะ ก็อย่างนี้พรรคประชาธิปัตย์เล่นการเมือง ตนไม่ได้เสียหาย แต่เด็กสาวที่เป็นดาราเขาเสียหาย ไม่ควรทำให้คนอื่นนอกวงการเมืองต้องเสียหาย เราเป็นนักการเมืองพูดกันไปพูดกันมา เขาเป็นดารา เขาไม่มีโอกาสมาชี้แจง พรรคประชาธิปัตย์มีพฤติกรรมอย่างนี้มาตลอด เก่งอยู่คนเดียว เก่งอยู่พรรคเดียว ซื่ออยู่พรรคเดียว สะอาดอยู่พรรคเดียว ทำเพื่อความสะใจและไม่รับผิดชอบ ตนก็ไม่เคยสนใจเรื่องพวกนี้อยู่แล้ว ทำมาตลอด เอะอะก็มาลงที่ตน ไร้สาระ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวอีกว่า ตนไม่ได้เป็นศัตรูกับนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ คนเก่าๆ ก็รักใคร่กัน แต่พวกรุ่นใหม่มาแรง ไอ้พวกนี้ที่มาแรงเสนอหน้า ถ้าออกจากประชาธิปัตย์ เลือกผู้ใหญ่บ้านยังไม่ได้เป็นเลย ไม่มีใครเลือก เอาเป็นตุเป็นตะ ดีแล้วจะได้แพ้มากๆ หน่อย อย่างนี้ค้านก็ไม่ค้าน รัฐบาลก็ไม่ใช่ ตนไม่มีนิยม ค้านก็ต้องค้านให้จริง เอาเรื่องตรงๆ มาพูด

เอเบคโพลล์ เตือนประชาชน พิจารณาโพลให้รอบคอบ

เอเบคโพลล์ เตือนประชาชน พิจารณาโพลให้รอบคอบ
โค้งสุดท้าย เลือกผู้ว่าฯ กทม.“เอเบคโพลล์” ออกหนังสือ “ข้อพึงระวังในการอ่านโพล” เตือนปชช.อย่าด่วนตัดสินใจ เชื่อทันที ควรพิจารณาให้รอบคอบ ชี้ อาจมีปัจจัยอื่นมากระทบทำคะแนนเปลี่ยนแปลงได้ทุกเมื่อวันที่ 22 ก.พ. สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ได้ออกหนังสือเตือนประชาชน ระบุถึง ข้อพึงระวังในการอ่านโพล การเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ครั้งที่ 10 ที่กำลังมีขึ้นในวันที่ 3 มีนาคม 2556 มีหลายสำนักโพลได้นำเสนอผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเลือกตั้งครั้งนี้ อาทิ เอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต นิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ บ้านสมเด็จโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ฯลฯ และสำนักโพลอื่น ๆ ที่ทำการสำรวจโดยเปิดเผยหรือไม่เปิดเผยต่อสาธารณะก็ตาม ประเด็นสำคัญที่มีการนำเสนอกันมากคือ คะแนนนิยมของผู้สมัครผู้ว่าฯกทม.โดยมีคาดการณ์ว่าผู้สมัครบางคนจะมีคะแนนนำและชนะการเลือกตั้งหากประชาชนได้รับฟังผลสำรวจเหล่านั้นขออย่าได้รีบสรุปตัดสินใจเชื่อโพลเหล่านั้นทันที ควรจะมีการพิจารณาให้รอบคอบเนื่องจากผลสำรวจที่นำเสนอนั้นอาจจะ “ไม่สอดคล้อง” กับผลการลงคะแนนจริงในวันเลือกตั้งก็เป็นไปได้ เนื่องจากเหตุผลสำคัญดังต่อไปนี้ประการแรก ผลโพลเป็นเพียงการสำรวจ “คะแนนนิยม” ในช่วงเวลาที่ทำการสำรวจ ยังไม่ใช่ผลการลงคะแนนจริง การนำเสนอผลโดยระบุว่า ใครจะได้คะแนนเท่าใด และใครจะชนะการเลือกตั้งนั้นเป็นแต่เพียง การนำเสนอข้อมูลสำรวจจาก “ตัวอย่าง” และผลการเลือกตั้งที่ยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง เป็นการศึกษาความเป็นไปได้ของพฤติกรรมของคนที่จะไปลงคะแนนเลือกตั้งดังนั้นในวันเลือกตั้งประชาชน อาจจะเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจ ก่อนการลงคะแนนเลือกตั้งอย่างไรก็ได้ เนื่องจากความคิดและพฤติกรรมของคนนั้น สามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยหลายอย่าง อาทิ ข้อมูลข่าวสาร เหตุผล ความเชื่อ ค่านิยม รวมไปถึงอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในนาทีของการตัดสินใจลงคะแนน ยิ่งไปกว่านั้น ระหว่างวันที่ทำการสำรวจไปจนถึงวันที่ลงคะแนนเลือกตั้งจะมีข้อมูลข่าวสารออกมามากมายที่มีผลต่อปฏิกิริยาความคิด ความรู้สึก และพฤติกรรมของผู้มีสิทธิเลือกตั้งซึ่งยังคาดการณ์ไม่ได้ จึงทำให้ผลการลงคะแนนการเลือกตั้งอาจจะไม่เป็นไปตามผลจากโพลที่สำรวจก็ได้ประการที่สอง ผลโพลเกิดจากการทำสำรวจจาก “กลุ่มตัวอย่าง” (sample) ไม่ใช่การสำรวจจากกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดอย่างเช่นการทำสำมะโนประชากร (census) ดังนั้นผลสำรวจที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างจะต้องมี “ความคลาดเคลื่อน” (error) ไปจากผลสำรวจประชากรทั้งหมดโดยธรรมชาติอยู่แล้ว ซึ่งความคลาดเคลื่อนดังกล่าวเกิดจากสองเรื่องที่สำคัญคือ1) ความคลาดเคลื่อนที่เกี่ยวกับการเลือกตัวอย่าง (Sampling error) ซึ่งมีอยู่สองอย่างที่ส่งผลกระทบสำคัญ โดยอย่างแรกคือความคลาดเคลื่อนจากขนาดตัวอย่าง (sample size) หรือจำนวนคนที่สำนักโพลสุ่มตัวอย่างนำมาวิเคราะห์ หากจำนวนตัวอย่างมีจำนวนไม่มากพอที่จะนำมาวิเคราะห์ให้เชื่อถือได้ ความคลาดเคลื่อนก็จะสูงทำให้เกิดความผิดพลาดในการทำนายคะแนนนิยมได้อย่างที่สองคือความคลาดเคลื่อนจากการสุ่มหรือการกระจายตัวอย่าง (sampling method) ได้แก่ ความสามารถในการกระจายตัวอย่างที่เก็บข้อมูลให้ได้ครอบคลุมครบถ้วนตาม สัดส่วนของประชากรจริงทุกหมู่เหล่าเพียงใด สามารถอ้างอิงเป็นตัวแทนประชากร (representative) ได้ แม้ว่า การสำรวจนั้น จะใช้จำนวนตัวอย่างมากมายเพียงใด หากไม่สามารถเลือกตัวอย่างให้ได้ตัวแทนตามสัดส่วนของประชากรจริงแล้ว การวิเคราะห์ทำนายผลก็ย่อมจะผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปได้ เปรียบดังเช่น การตักแกงในหม้อ ต่อให้ตักมาเป็นชามก็อาจจะไม่รู้รสชาติที่แท้จริงของอาหารในหม้อนั้น หากไม่ได้มีการคนส่วนผสมเครื่องปรุงในแกงให้เข้ากันเสียก่อน แต่ ถ้าหากว่า มีการคนส่วนผสมในแกงให้เข้ากันเป็นอย่างดี ทำให้น้ำกับเนื้อแกงรวมกันเป็นหนึ่งเดียวกันแล้ว อาจจะตักมาชิมเพียงแค่ช้อนเดียว ก็สามารถที่จะรู้รสชาติของแกงทั้งหม้อได้ ดังที่เคยปรากฏให้เห็นว่าการสำรวจบางครั้ง แม้จะมีการใช้จำนวนตัวอย่างเยอะเป็นแสนเป็นล้าน โดยสุ่มตัวอย่างไม่ดี อาจจะทำนายผลได้ไม่ถูกต้องแม่นยำเท่ากับการสุ่มตัวอย่างมาจากจำนวนเพียงหนึ่งพันคน ที่มีการสุ่มตัวอย่างตามระเบียบวิธีวิจัย2)ความคลาดเคลื่อนที่ไม่เกี่ยวกับการเลือกตัวอย่าง (non-sampling error) ได้แก่ ความคลาดเคลื่อนที่ทำให้เกิดอคติลำเอียง (bias) หรือความผิดพลาดไม่มีประสิทธิภาพในการดำเนินงานสำรวจ ซึ่งเป็นความลำเอียงที่อาจเกิดจากเจตนา อาทิ การมีผลประโยชน์ทับซ้อน อิทธิพลคุกคาม ค่านิยม ทัศนคติทางการเมืองและความไม่มีเจตนาของผู้วิจัย อันทำให้เกิดความผิดพลาดคลาดเคลื่อนในรูปแบบต่างๆ อาทิ ความลำเอียงในแบบสอบถามหรือการตั้งข้อคำถาม ความลำเอียงของผู้สัมภาษณ์หรือคนเก็บข้อมูล การไม่ให้ความร่วมมือของผู้ถูกสัมภาษณ์ การปฏิเสธการให้ข้อมูล การให้ข้อมูลเท็จ ความผิดพลาดในการจดบันทึก ความผิดพลาดตกหล่นของข้อมูลที่เก็บมาได้ ความผิดพลาดในการลงรหัสประมวลผลข้อมูล ความผิดพลาดในการเลือกใช้สถิติ ความผิดพลาดในการวิเคราะห์ ความผิดพลาดในการเขียนรายงาน ฯลฯ เหล่านี้เป็นต้นความผิดพลาดคลาดเคลื่อน ที่เกี่ยวกับการเลือกตัวอย่าง และความอคติที่ไม่เกี่ยวกับการเลือกตัวอย่างในการทำสำรวจ มีผลกระทบต่อความถูกต้องในระเบียบวิธีวิจัยและการควบคุมคุณภาพการสำรวจ ก่อให้เกิดความผิดพลาดคลาดเคลื่อนในการอธิบายผลหรือทำนายผลของคะแนนนิยมที่ไม่สอดคล้องเป็นไปตามความเป็นจริงความคลาดเคลื่อนนี้มีตั้งแต่ระดับเล็กน้อย ไปจนถึงระดับมากจนทำให้การทำนายผลผิดพลาดตรงกันข้ามกับความเป็นจริงไปเลยก็ มีบางครั้งอาจมีการผิดพลาดเพียงไม่เกิน 1% (ซึ่งถือว่าแม่นยำสูง) บางครั้งอาจคลาดเคลื่อน 1-10% แต่บางครั้งอาจคลาดเคลื่อนไปถึง 30-40% เลยก็ได้ค่าร้อยละของความคลาดเคลื่อนมีผลต่อความถูกต้องในการทำนายผลคะแนนนิยมและการทำนายผลเลือกตั้ง ยกตัวอย่างเช่น โพลสำนักหนึ่ง สำรวจพบว่าผู้สมัคร ก.ได้คะแนนนิยม 45% ผู้สมัครข. ได้คะแนนนิยม 40 % ถ้าสำนักโพลนั้นระบุช่วงความคาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 3 ก็หมายความว่า สำนักโพลแห่งนั้นระบุค่าความเป็นไปได้ที่ผลการเลือกตั้งจริงสำหรับผู้สมัคร ก. จะได้ร้อยละ 42 – 48 และผู้สมัคร ข. จะได้ร้อยละ 37 – 43 นั่นหมายความว่าผู้สมัครทั้งสองท่านยังมีโอกาสพลิกสลับกันได้ในผลการเลือกตั้งจริงถ้าผู้สมัคร ก. ได้คะแนนจริงต่ำสุดอยู่ที่ร้อยละ 42 และผู้สมัคร ข. ได้คะแนนสูงสุดของช่วงที่ร้อยละ 43 เป็นต้นแต่ถ้าผลการเลือกตั้งจริงพบว่า ผู้สมัคร ข. ได้คะแนนสูงถึงร้อยละ 45 แสดงว่า คะแนนจริงได้ทะลุเกินช่วงความคลาดเคลื่อนที่กำหนดไว้ร้อยละ 3 ในโพลของสำนักนั้นที่ระบุว่า ผู้สมัคร ข. จะได้เพียงร้อยละ 40 นั่นย่อมแสดงว่าผลโพลสำนักนั้นมีสาเหตุสำคัญบางประการที่ทำให้เกิดความผิดพลาดคลาดเคลื่อนเพี้ยนไปจากผลการเลือกตั้งจริงทั้งที่อาจเกิดจากความคลาดเคลื่อนจากการเลือกตัวอย่างและความคลาดเคลื่อนที่ไม่เกี่ยวกับการเลือกตัวอย่าง หรืออาจเป็นไปได้ว่าข้อผิดพลาดคลาดเคลื่อนเกิดจากจังหวะเวลาที่ยาวนานก่อน การเลือกตั้งจริงที่มีขึ้นประการที่สาม อาจจะมีปัจจัยอื่นที่มีผลแทรกซ้อนทำให้พฤติกรรมการลงคะแนนไม่เป็นไปตามปกติ ไม่สอดคล้องกับคะแนนนิยมก็เป็นไป อาทิ การซื้อสิทธิขายเสียง การให้อามิสสินจ้าง การใช้อิทธิพลข่มขู่คุกคามให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปหรือไม่ไปลงคะแนน การขนคนมาลงคะแนน การกลั่นแกล้งให้ข้อมูลเท็จแก่ผู้ลงคะแนน (เช่นบอกหมายเลขผู้สมัครผิด) ตลอดจนการทุจริตการเลือกตั้ง ที่มีผลอาจทำให้ผลคะแนนการเลือกตั้งไม่สอดคล้องกับกระแสความนิยมของสังคมที่ สำนักโพลต่าง ๆ ที่ไปทำการสำรวจมาดังนั้นเมื่อเห็นผลสำรวจ “อย่าเชื่อโพล” ในทันทีให้พึงไตร่ตรองอ่านอย่างรอบคอบและระลึกเสมอว่า อาจมีปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการสำรวจทำนายผลการเลือกตั้งดังกล่าว เพราะผลโพลไม่ใช่กรรมการตัดสินชี้ขาด ในการตัดสินใจของประชาชน แต่ที่ต้องทำโพลเพราะต้องการให้ความสำคัญกับเสียงสะท้อนของประชาชนทุกชนชั้น เพราะถ้าไม่มีโพล พื้นที่ข่าวเกือบทั้งหมดของการแสดงความคิดเห็นในสื่อมวลชนจะตกเป็นของกลุ่มคนชนชั้นนำที่มักจะออกมาชี้นำสังคมแต่ฝ่ายเดียวโดยปราศจากข้อมูลสถิติที่เป็นวิทยาศาสตร์มารองรับ

มาร์ค ลุยอ้อนสาวออฟฟิศ ช่วยคุณชาย

มาร์ค ลุยอ้อนสาวออฟฟิศ ช่วยคุณชาย
ประชาธิปัตย์ปรับยุทธศาสตร์ แยกกันตี จัดคิวมาร์คแยกพื้นที่หาเสียงช่วย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ซันทาวเวอร์ วิภาวดี สาวออฟฟิศตามกรี๊ดลั่นซอย...เมื่อเวลา 11.30 น.นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมนายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์และทีมงานได้ลงพื้นที่ช่วยหาเสียงการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ให้กับม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริบัตร ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.พรรคประชาธิปัตย์ ที่อาคารซันทาวเวอร์ ถนนวิภาวดีรังสิตและบริเวณภายในซอยเฉยพ่วงที่อยู่ใกล้เคียงกัน ซึ่งบรรยากาศเป็นอย่างคึกคักและทุลักทุเลอย่างมาก เนื่องจากเป็นหาเสียงระหว่างการพักเที่ยงของพนักงานบริษัทต่างๆ รวมทั้งบริเวณซอยเฉยพ่วง ก็มีทั้งร้านขายอาหารและขายสินค้าทำให้นายอภิสิทธิ์ ได้รับความสนใจจากพนักงานบริษัทและประชาชนที่อยู่ระหว่างการรับประทานอาหาร และซื้อสินค้าได้เข้ามาขอถ่ายรูปและขอลายเซ็นต์นายอภิสิทธิ์เป็นจำนวนมาก จนทำให้การจราจรภายในซอยเฉยพ่วงต้องติดขัดขณะเดียวกันก็มีประชาชนกลุ่มหนึ่งได้ตะโกนพร้อมส่งเสียงให้กำลังใจนาย อภิสิทธิ์และพรรคประชาธิปัตย์ด้วย ซึ่งนายอภิสิทธิ์และคณะได้ใช้เวลาหาเสียงบริเวณนี้กว่า 2 ชั่วโมง. 

Blog Archive