Saturday, February 2, 2013

Change เปลี่ยนแปลง กทม.ดันคะแนนนิยม จูดี้ โค้งที่ 2 พุ่งแรง !

Change เปลี่ยนแปลง กทม.ดันคะแนนนิยม จูดี้ โค้งที่ 2 พุ่งแรง !
เอแบคโพลล์ เผยคะแนนนิยม พงศพัศ ช่วงหาเสียงผู้ว่าฯ กทม.โค้งที่ 2 พุ่งต่อเนื่อง ทิ้งห่าง สุขุมพันธุ์ เหตุคนกรุงอยากเห็นการเปลี่ยนแปลง หรือ Change ชี้ปมการเมืองระดับชาติ ทั้งการแก้ รธน.และนิรโทษกรรมไม่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกตั้ง แต่กลับพบว่าเจ้าหน้าที่ กทม.กีดกัน พงศพัศ หาเสียง ถือเป็นการเลือกปฏิบัติ ยิ่งส่งผลดีต่อคะแนนนิยม...ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง ต้นเหตุการเมืองระดับชาติกับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ใครนำใครตามในโค้งที่สอง กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,673 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการและวิเคราะห์ข้อมูลระหว่างวันที่ 31 ม.ค. – 2 ก.พ.ที่ผ่านมา โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น เลือกเขต แขวง ชุมชน และลงสัมภาษณ์แบบเคาะประตูบ้านในระดับครัวเรือน ค่าความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 7 พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 90.3 กำลังติดตามข่าวเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ผ่านสื่อมวลชนเป็นประจำทุกสัปดาห์เมื่อสอบถามถึงข่าวสารความขัดแย้งภายในระหว่าง นปช. กับรัฐบาลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวเรื่องพ.ร.บ. นิรโทษกรรม ส่งผลต่อการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ในครั้งนี้หรือไม่ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.8 ระบุไม่ส่งผลต่อการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ในขณะที่ร้อยละ 40.2 ระบุว่า ส่งผล ส่วนข่าวสารประเด็นการเมืองระดับชาติในปัจจุบัน เช่น การแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ร.บ.นิรโทษกรรม และเขาพระวิหาร ส่งผลต่อการเลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. ในครั้งนี้หรือไม่ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 64.5 ระบุไม่ส่งผลต่อการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ในขณะที่ร้อยละ 35.5 ระบุว่า ส่งผลส่วนข่าวการที่ข้าราชการ กทม. ไม่ยอมให้ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ เข้าไปหาเสียง แต่อนุญาตให้ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เข้าไปหาเสียงได้ ส่งผลต่อความรู้สึกอย่างไรต่อการตัดสินใจในการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. พบว่า เกินครึ่งหรือร้อยละ 53.9 ระบุ ส่งผลดีต่อ พล.ต.อ.พงพัศ ในขณะที่ร้อยละ 46.1 ระบุ ไม่ส่งผลอะไรเมื่อสอบถามถึงความตั้งใจจะไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ผู้ว่าฯ กทม. ที่จะมาถึงนี้ พบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 63.4 ตั้งใจจะไป ในขณะที่ร้อยละ 36.6 จะไม่ไป และถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ท่านจะเลือกใคร พบว่า ความนิยมของสาธารณชนคนกรุงเทพมหานครต่อ พล.ต.อ.พงศพัศ สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีนัยสำคัญทางสถิติ จากร้อยละ 32.1 ก่อนวันรับสมัคร มาอยู่ที่ร้อยละ 41.8 ในโค้งที่ 1 และร้อยละ 43.1 ในโค้งที่ 2 ในขณะที่สัดส่วนของประชาชนที่ตั้งใจจะเลือก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์  มีแนวโน้มลดลงจากร้อยละ 37.6 ในโค้งที่ 1 มาอยู่ที่ร้อยละ 33.1 ในโค้งที่ 2 ส่งผลทำให้ พล.ต.อ.พงศพัศ ทิ้งห่าง ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ออกไปอีก จาก 4.2 จุด เป็น 10 จุด โดยเหตุผลที่ทำให้ พล.ต.อ.พงศพัศ มีคะแนนนำในหมู่ประชาชน พบว่า อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง หรือ Change ในทิศทางที่ดีขึ้นของกรุงเทพมหานครนอกจากนี้ ยังระบุว่า “เบื่อความขัดแย้ง” และยังต้องการให้โอกาสกับผู้สมัครคนใหม่อีกด้วย อย่างไรก็ตาม เหตุผลสำคัญอีกประการหนึ่งคือ นโยบายที่จับต้องได้ เป็นประโยชน์ ลดความเดือดร้อนของประชาชน และมีความเป็นไปได้ว่าทำได้จริงเพราะมีรัฐบาลสนับสนุนผลสำรวจยังพบด้วยว่า ประชาชนคนกรุงเทพมหานครอยากให้ ผู้ว่าฯ กทม. คนต่อไปดำเนินการเกี่ยวกับพื้นที่สร้างสรรค์ที่มีคุณภาพ โดยพบว่า ร้อยละ 32.9 ระบุ สวนสาธารณะ รองลงมาร้อยละ 18.0 ระบุสนามกีฬา ร้อยละ 17.0 ระบุสถานฝึกอบรมอาชีพ ร้อยละ 8.5 ระบุศูนย์นันทนาการสาธารณะ ร้อยละ 7.2 ระบุห้องสมุดประชาชน และรองๆ ลงไปคือ พิพิธภัณฑ์ที่สามารถให้ความรู้แก่ประชาชน ลานแสดงหรือจัดกิจกรรมสาธารณะ พื้นที่เพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ในชุมชน และอื่นๆ เช่น สระว่ายน้ำ กทม. ลานชุมชนทางการเมือง ลานบุญลานธรรม เป็นต้นผอ.เอแบคโพลล์ กล่าวว่า ผลสำรวจครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า เหตุการณ์ทางการเมืองระดับชาติ เช่น การเคลื่อนไหวชุมนุมทางการเมือง เรื่อง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ให้กลุ่มนักโทษทางการเมืองไม่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. เนื่องจากผลวิจัยเคยชี้ให้เห็นว่า คนส่วนใหญ่สนับสนุน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมนักโทษการเมือง นอกจากนี้ การแก้ไขรัฐธรรมนูญและกรณีเขาพระวิหาร ยังไม่ส่งผลกระทบเช่นกันต่อคะแนนนิยมของสาธารณชนคนกรุงเทพมหานครต่อผู้สมัครเป็นผู้ว่าฯ กทม. แต่เรื่องที่ส่งผลกระทบต่อคะแนนนิยมกลับเป็นข่าวเหตุการณ์ที่ พล.ต.อ.พงศพัศ ถูกเจ้าหน้าที่ กทม. สกัดกั้นไม่ให้เข้าไปหาเสียง แต่ไม่สกัดกั้น ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า ผู้ถูกศึกษาเล็งเห็นถึงความไม่เป็นธรรม และการเลือกปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ จึงส่งผลดีต่อคะแนนนิยมของประชาชนต่อ พล.ต.อ.พงศพัศ  นอกจากนี้ อาจเป็นไปได้ว่า พรรคเพื่อไทยกำลังมีปัจจัยบวกเข้ามาเพิ่มความลงตัวจากฐานเสียงของส.ก. ส.ข. และการสนับสนุนจากคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ รวมถึงการเปิดตัวรองผู้ว่าฯ กทม.ของ ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย เช่น พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ และนางปวีณา หงสกุล เป็นต้น ในขณะที่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ยังไม่มีอะไรโดดเด่นขึ้นมา ในช่วงเวลาของการทำสำรวจ ส่งผลให้คะแนนนิยมของ พล.ต.อ.พงศพัศ เริ่มทิ้งห่างออกไปอีกในโค้งที่สองนี้ แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงพบว่า ประชาชนจำนวนหนึ่งถ้ามั่นใจว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชนะหรือแพ้การเลือกตั้งก็อาจจะไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งได้ และอาจส่งผลให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่คาดว่าจะชนะจะกลายเป็นผู้ชนะในโพลเท่านั้นแต่ไม่ชนะในวันเลือกตั้งจริง“ในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ก่อนวันเลือกตั้ง คณะผู้วิจัยเสนอโมเดลการใช้สื่อสร้างสรรค์คะแนนนิยมโดยกลุ่มผู้สมัครควรคิดถึงกิจกรรมสำคัญๆ แบ่งออกเป็นสัปดาห์ต่างๆ ก่อนวันเลือกตั้ง เช่น ยุทธศาสตร์การเคาะประตูบ้านในพื้นที่ที่เตรียมตัวไว้อย่างดี การเพิ่มความถี่ในการโฟนอินออกรายการวิทยุ ทีวี เพราะยิ่งใกล้วันเลือกตั้งยิ่งมีประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งสนใจการรณรงค์หาเสียงมากขึ้น และในสัปดาห์ท้ายๆ ก่อนวันเลือกตั้ง การลงโฆษณาหาเสียงในหนังสือพิมพ์ การแนะนำตัว แนะนำนโยบายทางไปรษณีย์ถึงครัวเรือนประชาชนและการใช้สื่อออนไลน์ให้ถี่ขึ้น เป็นเรื่องที่มีการทำกันเป็นมาตรฐานสากลของกิจกรรมรณรงค์เพื่อชนะการเลือกตั้ง และในช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนวันเลือกตั้ง ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนนิยมสูงๆ มักจะใช้การโฟนอินหรือการออกรายการสดทางวิทยุประมาณ 3-5 ครั้งต่อวันในช่วงเด่นเวลาดีหรือไพรม์ไทม์” ดร.นพดล กล่าว

คนกรุงชี้นโยบายน่าสนใจ-ถูกใจ-ทำได้จริง มีผลต่อการเลือกผู้ว่าฯกทม.

คนกรุงชี้นโยบายน่าสนใจ-ถูกใจ-ทำได้จริง มีผลต่อการเลือกผู้ว่าฯกทม.
สวนดุสิตโพล ระบุนโยบายที่น่าสนใจ ถูกใจ และทำได้จริง มีผลต่อการเลือกผู้ว่าฯ กทม. คนส่วนใหญ่มองการหาเสียงครั้งนี้กับที่ผ่านมาไม่ต่างกัน 2 พรรคใหญ่ยังคงแข่งขันลงพื้นที่เอาใจคนกรุง ชื่นชอบการนำเสนอข่าวของสื่อที่เปิดโอกาสให้ผู้สมัครแสดงวิสัยทัศน์อย่างอิสระ แต่เบื่อหน่ายการนำเสนอข่าวที่เอนเอียง เลือกข้าง...เมื่อวันที่ 3 ก.พ.2556 สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ กับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ซึ่งมีสิทธิ์เลือกตั้งทั้ง 50 เขต จำนวนทั้งสิ้น 1,250 คน ระหว่างวันที่ 28 ม.ค.-2 ก.พ. โดยหัวข้อ ปัจจัยใดบ้าง? ที่มีผลทำให้คนกรุงเทพฯ เปลี่ยนใจเลือกผู้สมัครคนใหม่จากเดิมที่ตั้งใจไว้ พบว่า อันดับ 1 ระบุว่า ผู้สมัครคนอื่นมีนโยบายที่น่าสนใจกว่า เมื่อฟังแล้วรู้สึกถูกใจ และคิดว่าน่าจะเป็นไปได้จริง 61.04% อันดับ 2 ดูจากกระแสหรือการตอบรับของคนส่วนใหญ่  /ผู้สมัครมีผลงานดีขึ้นเรื่อยๆ 17.60% อันดับ 3 จากบุคลิกลักษณะ ความน่าเชื่อถือ /ผู้ที่มีชื่อเสียงหรือเป็นที่รู้จักในสังคมรับประกัน 12.35% อันดับ 4 มีประวัติเสื่อมเสีย ด่างพร้อย พัวพันการทุจริตคอรัปชันหรือยุ่งเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่ถูกต้อง 5.24% อันดับ 5 การพูดใส่ร้ายคนอื่น คอยแต่หาเรื่องทะเลาะเบาะแว้ง 3.77%ในขณะที่หัวข้อการหาเสียงผู้ว่าฯ กทม. “ครั้งก่อน” กับ “ครั้งนี้” ต่างกันหรือไม่? อันดับ 1 ระบุไม่ต่างกัน 59.54% เพราะยังคงเป็นการแข่งขันกันระหว่าง 2 พรรคการเมืองใหญ่, เน้นการลงพื้นที่และชูนโยบายที่เอาใจคนกรุงเทพฯ เหมือนเดิม ฯลฯ อันดับ 2 ต่างกัน 40.46% เพราะผู้สมัครครั้งนี้ต่างเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มาจากหลากหลายอาชีพ เป็นคนคุณภาพที่อาสาเข้ามาทำงาน, รูปแบบการหาเสียงเน้นผ่านสังคมออนไลน์มากขึ้นโดยเฉพาะเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ ฯลฯ ส่วนการนำเสนอข่าวเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ของสื่อมวลชนทั้งทีวี วิทยุ นสพ.ที่คนกรุงเทพฯ ชื่นชอบ อันดับ 1 ระบุ การสัมภาษณ์พูดคุยกับผู้สมัครเบอร์ต่างๆ เปิดโอกาสให้นำเสนอนโยบายแสดงวิสัยทัศน์ได้อย่างอิสระ 53.81% อันดับ 2 เกาะติดสถานการณ์ นำเสนอข่าวรวดเร็ว /รายงานความเคลื่อนไหวหรือมีข่าวให้ติดตามตลอดทั้งวัน 27.94% อันดับ 3 การนำเสนอผลหรือข้อมูลที่เป็นตัวเลข จัดอันดับเปรียบเทียบที่ดูเข้าใจง่าย มีภาพหรือกราฟฟิกประกอบ 18.25%นอกจากนั้นการนำเสนอข่าวดังกล่าวที่คนกรุงเทพฯ ไม่ชอบ/เบื่อหน่าย พบว่า อันดับ 1 นำเสนอข่าวไม่เป็นกลาง ลำเอียง เลือกข้าง เลือกนำเสนอเฉพาะบางคน 38.36% อันดับ 2 นำเสนอข่าวเกินความเป็นจริง ตีไข่ใส่สีให้ทะเลาะกัน /ขุดคุ้ยเรื่องเก่ามาโจมตี ใส่ร้ายผู้สมัคร 31.48% อันดับ 3 นำเสนอข่าวเพียงด้านเดียว ไม่ได้นำเสนอทั้งหมด / เลือกเฉพาะประเด็นที่คิดว่าขายได้เท่านั้น 30.16%

เก๋อีก! พงศพัศ แต่งวินมอเตอร์ไซค์ หาเสียง

เก๋อีก! พงศพัศ แต่งวินมอเตอร์ไซค์ หาเสียง
พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ โปรยยาหอมวินมอเตอร์ไซค์ พร้อมจะยกระดับให้เป็นอาสาสมัครดูแลชุมชน แจ้งเบาะแสปัญหาพร้อมให้เบี้ยเลี้ยง...เมื่อวันที่ 3 ก.พ. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.พรรคเพื่อไทย ได้ลงพื้นที่หาเสียงกับประชาชนที่อาศัยบริเวณริมสองฝั่งคลองแสนแสบในพื้นที่ย่านมีนบุรีเพื่อรับฟังปัญหาและดูสภาพน้ำในคลองก่อนที่จะขึ้นฝั่งที่ท่าน้ำเขตมีนบุรีพร้อมกับเยี่ยมชมตลาดสดด้วย จากนั้น พล.ต.อ.พงศพัศ ได้เดินทางมาที่วิทยาลัยเทคนิคมีนบุรี เพื่ออธิบายถึงนโยบายการหาเสียงให้กับกลุ่มจักรยานยนต์รับจ้างที่มีอยู่ประมาน 500 คน พร้อมกับรับฟังปัญหา และยังได้แต่งกายคล้ายกับผู้ประกอบอาชีพจักรยานยนต์รับจ้าง โดยสวมเสื้อกั๊กสีส้มเบอร์ 9 พร้อมสวมหมวกกันน็อกอีกด้วย โดย พล.ต.อ.พงศพัศ กล่าวว่า อาชีพรถจักรยานยนต์รับจ้าง เป็นผู้ที่รู้ปัญหาเกือบทุกอย่างในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาชญากรรม ยาเสพติดในพื้นที่ โดยตนมีความคิดว่าจะให้บุคคลเหล่านี้เป็นอาสาสมัครป้องกัน โดยให้มีเบี้ยเลี้ยงและเป็นหูเป็นตาให้กับชุมชน ช่วยเจ้าหน้าที่ โดยที่จะทำหน้าที่แจ้งเบาะแสและปัญหาต่างๆเข้ามา ซึ่งหลายหน่วยงานเขาก็มีเจ้าหน้าที่อาสาสมัครแล้ว ถ้าตนเองได้เป็นผู้ว่าฯ กทม.บุคคลเหล่านี้ก็จะมาเป็นอาสาให้ตนพล.ต.อ.พงศพัศ กล่าวต่อไปว่า ต่อไปตนจะทำให้ในชุมชนมีที่จอดรถจักรยานยนต์ฟรี และมีการบริหารการจัดการที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยจะจัดให้มีเครื่องดื่มบำรุงร่างกาย เช่น น้ำดื่มฟรีอีกด้วยสำหรับจักรยานยนต์รับจ้าง พร้อมทั้งมีความตั้งใจว่าจะทำทางรถจักรยานยนต์ให้ด้วย.  

Blog Archive