Friday, March 8, 2013

นายกฯจ้อทีวี​ ชูเยือนอียูกระชับสัมพันธ์-ขยายลงทุน

นายกฯจ้อทีวี​ ชูเยือนอียูกระชับสัมพันธ์-ขยายลงทุน
นายกรัฐมนตรี บันทึกเทปรายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์กลางกรุงปราก เผยเยือนสวีเดน-เบลเยียม กระชับความสัมพันธ์ เป็นผลดีด้านเศรษฐกิจ การลงทุน การค้า และแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี พร้อมเดินหน้าเจรจาสิทธิพิเศษด้านการค้า...เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 9 มี.ค. รายการ รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้บันทึกเทปรายการที่กรุงปราก ประเทศเบลเยียม หลังจากเดินทางเยือนประเทศสวีเดนและเบลเยียมอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 4-7 มี.ค.ที่ผ่านมา โดยนายกรัฐมนตรี กล่าวตอนหนึ่งว่า ประเทศสวีเดนเป็นประเทศใหญ่ มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เป็นประตูสู่ยุโรปเหนือนอกจากนี้ ประเทศสวีเดนยังมีเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทน เช่น เทคโนโลยีด้านนาโน น่าจะทำการแลกเปลี่ยนเชิงวิชาการด้วย อย่างไรก็ตาม ประเทศสวีเดนและเบลเยียมมีความสัมพันธ์กับไทยมาเป็นร้อยปีแล้ว การเดินทางเยือนครั้งนี้จะเป็นผลดีต่อด้านเศรษฐกิจต่างๆ ที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง หากได้เดินทางมาก็เพื่อตอกย้ำความสัมพันธ์ และให้เกินความเชื่อมั่นซึ่งกันและกัน เหมือนกับซื้อใจ ซึ่งจะเป็นผลดีกับทั้งสามประเทศ​เบลเยียมไม่ใช่ประเทศที่ใหญ่ แต่มีความสำคัญ​เนื่องจากเป็นที่ตั้งของอียู ซึ่งเป็น 3 สถาบันที่มีผลทางด้านข้อกฎหมายและการค้าการลงทุนที่มีความสำคัญกับเรามาก การเดินทางเข้ามาเพื่อนำเสนอว่าเราพร้อมแล้วที่จะต้อนรับนักลงทุน นักท่องเที่ยว ขณะเดียวกัน เราก็เป็นศูนย์กลางประตูสู่อาเซียน เรายังได้นำธุรกิจไปพบกับเขาด้วย ซึ่งสวีเดนเองก็มีนักธุรกิจที่ทำเกี่ยวกับพลังงานสะอาดมาก การเดินทางมาเขาอาจจะสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทยด้วย นอกจากนี้ ไทยยังได้นำนักวิจัยของ 3 สถาบันของรัฐ เพื่อแลกเปลี่ยนเชิงวิชาการกับสวีเดน โดยมีความเชี่ยวชาญด้านพลังงานสะอาด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย นายกรัฐมนตรี กล่าวอย่างไรก็ตาม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังกล่าวถึงการได้รับสิทธิพิเศษ​ GSP ด้านการค้า ซึ่งกำลังจะหมดลงว่า เมื่อก่อนเราได้สิทธิพิเศษ GSP เนื่องจากจำนวนประชากรเราไม่เยอะมาก จึงได้สิทธิพิเศษด้านภาษี ต่อมาประเทศเรามีรายได้ดีขึ้น เขาก็จะเริ่มลดสิทธิพิเศษนี้ เราจึงเอาเรื่องนี้มาต่อรองด้วย ซึ่งล่าสุดทางรัฐสภาได้เห็นชอบให้มีการเจรจา ข้อดีของการเจรจา จะมีข้อดีหลายประเภท โดยเฉพาะสินค้าด้านการเกษตร อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และอื่นๆ รวม 14 รายการ หากเจรจาสำเร็จนอกจากจะมีสิทธิพิเศษทางภาษีแล้ว เรายังสามารถนำสินค้าเหล่านี้ส่งออกไปยังอียูได้มากขึ้นด้วย แต่อย่างไรก็ดี ก็จะมีสินค้าจากอียูเข้ามาประเทศไทยมากขึ้น คาดว่าจะมีการเจรจากลางปีนี้ พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรียังได้เปิดเผยถึงทางยุโรปที่ได้ให้การรับรองต้นกำเนิดสินค้าทางภูมิศาสตร์ (GI) ให้กับข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นครั้งแรก ขณะเดียวกัน รัฐบาลก็จะติดตามขอ GI สินค้าประเภทอื่น คือ กาแฟ ของดอยช้าง ดอยตุง ต่อไป ยุโรปเริ่มมั่นใจในประเทศไทย โดยดูจากสัญญาณจากการท่องเที่ยว การลงทุนที่เริ่มเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกัน ประเทศไทยกำลังลงทุนครั้งใหญ่ 2 ล้านล้าน เขาก็มองไทยใน 2 บทบาทคือ การมาลงทุนในประเทศไทย และการใช้ไทยเป็นฐานการลงทุนในอาเซียน ทางรัฐบาลและกลุ่มอียูเองก็ต้องการส่งเสริมศักยภาพด้านต่าง ๆ ด้วย น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าว.

สวนดุสิตโพล เผยคนห่วงชงนิรโทษฯ ขัดแย้งปะทุ

สวนดุสิตโพล เผยคนห่วงชงนิรโทษฯ ขัดแย้งปะทุ
สวนดุสิตโพล เผย ประชาชน 38.30% ห่วงจะเกิดความขัดแย้งในบ้านเมือง กรณีการชงร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ขณะที่อีก 62.50% มองว่าเป็นการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน หรือผู้ที่ไม่ได้กระทำผิดจริง ส่วน 49.40% มองว่าไม่เป็นธรรม เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้กระทำความผิด...เมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2556 สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นทางการเมืองของประชาชน ที่พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 1,079 คน ระหว่างวันที่ 6-8 มี.ค. ต่อกรณี ส.ส.พรรคเพื่อไทย รวบรวมรายชื่อ ส.ส.ของพรรค และพรรคร่วมรัฐบาล เสนอร่างกฎหมายนิรโทษกรรม แก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง ต่อนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภาในสัปดาห์หน้า โดยพบว่า ประชาชน 38.30% รู้สึกเป็นห่วง กังวลว่าจะเกิดสถานการณ์ความขัดแย้งขึ้นอีก 31.92% อยากให้คำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าเรื่องส่วนตัว และ 29.78% ควรศึกษาข้อดี ข้อเสียอย่างละเอียด/ดูผลกระทบที่จะตามมาให้รอบคอบขณะที่ข้อดี-ข้อเสียในการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรม พบว่า ในส่วนข้อดี ประชาชน 62.50% มองว่า เป็นการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน หรือผู้ที่ไม่ได้กระทำผิดจริง 22.91% มองเป็นโอกาสดีที่จะสร้างความปรองดอง ยุติปัญหาต่างๆ และ 14.59% มองว่า ประเทศชาติจะได้เดินหน้าและพัฒนาในด้านอื่นๆ ต่อไป ส่วนข้อเสีย 49.40% มองว่า เกิดความไม่เป็นธรรม เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับผู้กระทำความผิดจริง 27.71% อาจเกิดช่องโหว่ทางกฎหมายให้ผู้กระทำความผิดก่อเหตุเช่นนี้ขึ้นอีก และ 22.89% ผู้ที่ไม่เห็นด้วยจะออกมาคัดค้าน เคลื่อนไหว ส่งผลให้สถานการณ์ทางการเมืองกลับมาวุ่นวายอีกครั้ง.

บิ๊กจิ๋วหนุนถกกลุ่มก่อความไม่สงบ

บิ๊กจิ๋วหนุนถกกลุ่มก่อความไม่สงบ
พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ หนุน การเริ่มต้นพูดคุยกับกลุ่มก่อความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ แย้มสิ่งดีๆ กำลังจะเกิดขึ้นในพื้นที่ ยังแทงกั๊กจะร่วมทีมดับไฟใต้หรือไม่...   พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในการจัดการแข่งขันนกเขาเสียงชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่สมาคมผู้เลี้ยงนกเขาชวาเสียงแห่งประเทศไทย จัดขึ้นที่สนามหวังดี อ.จะนะ จ.สงขลา ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด โดย พล.อ.ชวลิต กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งล่าสุดได้มีการลงนามพูดคุยกับกลุ่มบีอาร์เอ็น ที่ประเทศมาเลเซีย ว่า การเริ่มต้นการพูดคุย ถือเป็นก้าวแรกที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหา ส่วนการที่มองว่ากลุ่มผู่ก่อความไม่สงบมีอยู่หลายกลุ่ม อาจจะทำให้เกิดปัญหาเมื่อไปเจรจากับกลุ่มบีอาร์เอ็นเพียงกลุ่มเดียวนั้น พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า การเริ่มต้นพูดคุยไปทีละกลุ่ม เป็นการเดินหน้าไปทีละขั้น แต่ขอให้เริ่มขั้นที่ 1 ให้ได้เสียก่อน การพูดคุยจะพูดคุยพร้อมกันทุกกลุ่มในคราวเดียวคงไม่ได้ ทั้งนี้ มองว่า แนวทางการพูดคุยเป็นจุดเริ่มต้นของทุกอย่างในโลก ส่วนการจะเข้าร่วมทีมพูดคุยกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบด้วยหรือไม่นั้น พล.อ.ชวลิต กล่าวว่า ยังไม่ทราบ แต่ก็มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นส่วนใหญ่ ตนขออยู่ตรงกลางจะดีกว่าผู้ที่มีหน้าที่พูดคุย ตลอดจนที่ปรึกษาในการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ ก็ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่มีความสามารถ เมื่อเริ่มต้นการพูดคุยก็เห็นว่าสิ่งที่ดีกำลังจะเกิดขึ้นในพื้นที่.

บิ๊กตู่ฮึ่ม เลิกพรก.ฉุกเฉิน3จ.ใต้ ต้องรอบคอบ

บิ๊กตู่ฮึ่ม เลิกพรก.ฉุกเฉิน3จ.ใต้ ต้องรอบคอบ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. ติง การจะยกเลิกการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ควรคิดให้รอบคอบ ชี้คิดผิดอาจทำโจรใต้ได้ประโยชน์... วันนี้ (8 มี.ค. 56) เวลา 10.30 น. ที่ห้องประชุมกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาคที่ 4 ส่วนหน้า ค่ายสิรินธร ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก พร้อมด้วย พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี และคณะ ลงพื้นที่ติดตามการแก้ปัญหาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมี พล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัตช์ แม่ทัพภาคที่ 4 บรรยายสรุปถึงสถานการณ์ในภาพรวมที่ผ่านมา โดยเฉพาะการดูแลความปลอดภัยในชุมชนเมืองใหญ่ๆ เช่น พื้นที่เมืองยะลา, นราธิวาส, ปัตตานี และ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ส่วนทางด้านศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ได้บรรยายสรุปความคืบหน้าผลการปฏิบัติงานตามนโยบาย จากนั้น ผบ.ทบ.ได้มอบนโยบายและแนวทางการปฏิบัติงานผู้บัญชาการทหารบก กล่าวว่า การลงพื้นที่ครั้งนี้ ก็เพื่อมาติดตามการแก้ปัญหาการรักษาความปลอดภัยและการพัฒนา รวมทั้งจะตอบข้อซักถามเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ที่ยังสงสัยการแก้ปัญหาภาคใต้ ตามนโยบายของรัฐบาล และจากการที่ได้รับฟังรายงานการชี้แจงจากทางแม่ทัพภาคที่ 4 ก็ทราบว่าสถานการณ์สามารถควบคุมได้เป็นอย่างดี ส่วนการแก้ไขก็ได้เดินหน้าไปตามลำดับ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของขบวนการพูดคุยสันติภาพ ก็เดินหน้าต่อไป ซึ่งจะมีการแยกแยะให้ถูกต้อง ส่วนของกองทัพก็ดำเนินการแก้ปัญหาด้านความมั่นคงเป็นหลัก โดยเฉพาะการพัฒนาติดตามในเรื่องของการข่าวเพื่อให้การแก้ปัญหาได้ถูกต้องแม่นยำ โดยเฉพาะในเรื่องประเด็นต่างๆ ที่จะต้องนำไปพูดคุยกัน จะต้องเป็นการแก้ปัญหาในภาพรวมทั้งหมด ทั้งภายในประเทศและนอกประเทศ “สิ่งสำคัญไม่อยากให้ทุกคนตื่นตระหนกว่า เกิดการขัดแย้งกันหรือเปล่าในเรื่องของการแก้ปัญหาภาคใต้ ซึ่งจริงๆ แล้วทางฝ่ายความมั่นคง ไม่มีความขัดแย้งใดๆ ทั้งสิ้นกับรัฐบาลยังคงเดินหน้าร่วมกันแก้ไขปัญหากันต่อไป ผลที่สุดก็ได้มาถึงการพูดคุยกัน ซึ่งจะต้องดูว่าจะพูดคุยกันอย่างไร เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ไม่ได้ถือว่าเป็นข้อตกลงว่าจะต้องทำอย่างโน้นอย่างนี้ เพราะวันนี้ก็เป็นเพียงการเริ่มก้าวเดินเท่านั้นเอง ว่าเป็นการอำนวยความสะดวกโดยประเทศเพื่อนบ้านของเรา อย่างน้อยก็ช่วยได้ในเรื่องการกำจัดเสรีของฝ่ายตรงข้ามได้ และการพูดคุยกันก็จะต้องดูเป็นช่วงๆ ไปว่าจะเดินกันไปอย่างไร และด้วยความระมัดระวัง ฝ่ายงานความมั่นคงก็จะเอาข้อมูลต่างๆ ให้กับในส่วนของผู้ที่จะไปประสานงานที่ประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งตนเองขอย้ำว่า ขณะนี้ยังไม่ได้มีการพูดคุยกันเลย และตนเองก็ได้บอกผู้ที่เกี่ยวข้องไปแล้วว่าต่อจากนี้การไปประสานงานก็จะต้องมีการแต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมา ที่ถูกต้องตามกฎหมาย ที่ผ่านมาเป็นการไปประสานงานกันเฉยๆ ยังไม่เป็นทางการ ส่วนการดูแลความปลอดภัยในพื้นที่ต่างๆ ก็ได้มีการสั่งกำชับแม่ทัพภาคที่ 4 และผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ไปแล้วว่า ให้มีการดูแลความปลอดภัยสถานที่ต่างๆ ให้เข้มงวดมากขึ้น” ผบ.ทบ. กล่าวพล.อ.ประยุทธ์ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ตนขอยืนยันว่าขณะนี้ยังไม่มีการถอนกำลังเจ้าหน้าที่ทหารออกจากพื้นที่โดยเด็ดขาด หากสถานการณ์ยังไม่สงบ ตนขอยืนยัน ส่วนสถานการณ์พื้นที่ใดลดลง ก็จะเปลี่ยนจาก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เป็น พ.ร.บ.ความมั่นคงแทน อยากจะขอชี้แจงว่ากฎหมายเหล่านี้ ยังเป็นประโยนช์ต่อเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ในพื้นที่ เพื่อให้พวกเขาได้มีความสบายใจบ้างว่ายังมีกฎหมายคุ้มครองเขาอยู่ เพราะเจ้าหน้าที่ยังคงถูกทำร้ายโดยตลอด ดังนั้น การใช้กฎหมายทุกฉบับจะต้องมีความโปร่งใส ยุติธรรม และบริสุทธิ์ สิ่งเหล่านี้จะต้องทำอย่างรอบคอบ หากลดกฎหมายลงไปโดยไม่ได้คิด ไม่ได้ไตร่ตรองให้ดี ผู้ที่ได้ประโยชน์ก็จะไปตกอยู่กับฝ่ายผู้ก่อเหตุรุนแรง หากประกาศยกเลิกไป กว่าจะประกาศใช้กฎหมายใหม่อีกครั้ง ก็คงกระทำได้ยากขึ้น. 

แนะยึดพระราชดำรัสในหลวงแก้ขัดแย้ง

แนะยึดพระราชดำรัสในหลวงแก้ขัดแย้ง
จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย แจงนิรโทษกรรม ยึดแนวพระราชดำรัส ในหลวง หากมีคนค้านจะรับฟัง รายละเอียดรอมติพรรคชี้ขาด...เมื่อเวลา 11.15 น. วันที่ 8 มี.ค. ที่โรงแรมโฟร์ซีซัน นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณี ส.ส.พรรคเพื่อไทย เดินหน้าเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ว่า เรื่องนี้เป็นสิทธิของ ส.ส. ที่จะดำเนินการได้ ส่วนแนวทางการทำงานจะยึดเอาแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานเมื่อวันที่ 5 ธ.ค. และวันที่ 31 ธ.ค. 55 ทรงพระราชทานแนวทางให้ยึดหลักให้คนไทยทุกฝ่ายได้หันหน้าเข้ามามีไมตรีความปรารถนาดีต่อกัน การจะเดินไปสู่จุดนี้ได้ต้องน้อมนำพระราชดำรัสไปปฏิบัติ การที่มีการเสนอร่างกฎหมายเป็นเจตนาดีที่จะทำให้บ้านเมืองดีขึ้น หากมีข้อบกพร่องก็ต้องแก้ไขให้เป็นไปตามครรลองของระบอบประชาธิปไตยผู้สื่อข่าวถามว่าการยึดพระราชดำรัส น่าจะทำให้กระแสน้อยลงหรือไม่ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า พรรคคิดว่าเมื่อรับแล้วต้องสนองตอบ ในฐานะพรรคใหญ่และพรรครัฐบาล จะต้องขับเคลื่อนไปในทิศทางที่ทำให้เกิดความปรองดอง เมื่อถามว่าห่วงกระแสคัดค้านร่างกฎหมายหรือไม่ นายจารุพงศ์ กล่าวว่า ต้องถามว่าจะต่อต้านในประเด็นใด เราต้องฟังว่าประเด็นใดจะทำให้มีไมตรีต่อกัน รักกัน ก็จะเป็นหนทางที่ดีต่อกัน ตั้งแต่รัฐประหารปี 49 ทุกคนยอมรับว่าบ้านเมืองมีความเสียหาย และไม่อยากให้สิ่งที่เกิดขึ้นในปี 52-53 เกิดขึ้นอีก ถ้าพูดกันด้วยความมีเหตุผล ก็น่าจะทำให้ความขัดแย้งหมดไปนอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวถามอีกว่า ควรกำหนดเวลาที่จะจัดทำกฎหมายให้เสร็จสิ้นในสมัยประชุมนี้หรือไม่ นายจารุพงศ์ กล่าวว่า เราจะไม่ให้เวลาเป็นข้อจำกัด ถ้ากำหนดเวลาเป็นเงื่อนไข จะทำให้มีปัญหา ความมุ่งมั่นจริงใจที่จะทำการแก้ไขปัญหา จะเป็นหลักในการทำงาน โดยมุ่งการพูดคุยกันให้มากที่สุด เมื่อถามว่าสาระสำคัญของร่างจะเน้นให้อภัยผู้ร่วมชุมนุมที่เป็นผู้บริสุทธิ์เท่านั้นใช่หรือไม่ นายจารุพงศ์ กล่าวว่า นั่นคือรายละเอียดต้องพูดคุยกัน โดยจะพูดคุยหารือกันในที่ประชุมพรรคเพื่อมีมติออกมาอีกครั้ง.

มาร์ค งง รัฐลงนามคุ้มครองผู้ก่อความไม่สงบ

มาร์ค งง รัฐลงนามคุ้มครองผู้ก่อความไม่สงบ
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สวน “เฉลิม” ให้อยู่เฉยๆ งงลงนามผูกมัดรัฐไทยคุ้มครองผู้ก่อการฯ จับตา 28 มี.ค.นัดถกอีกรอบเกิดอะไรขึ้น ชี้ปมยกระดับแล้ว เจรจาชั้นจนท.คงยาก ยันไม่เคยเอาเรื่องไฟใต้โยงปมการเมือง...เมื่อวันที่ 8 มี.ค. ที่ศาลอาญา รัชดาฯ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน กล่าวถึงคำชี้แจงของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ที่ตอบกระทู้สดเกี่ยวกับการลงนามสันติภาพกับกลุ่มบีอาร์เอ็นว่า ส่วนตัวไม่ได้คาดหวังกับคำชี้แจงของร.ต.อ.เฉลิม เพราะไม่มีส่วนร่วมต่อการพูดคุยหรือลงนาม แต่คนที่มีบทบาทคือ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาฯศอ.บต.และ สมช.ซึ่งต้องรับเข้ามาเพื่อประสานงานกับ สมช.ของมาเลเซีย แต่ตนเป็นห่วงคำพูดของ ร.ต.อ.เฉลิมที่พูดง่ายๆ ว่า ดีกว่าอยู่เฉยๆ ซึ่งมันไม่ใช่ เพราะต้องทำให้ถูกต้องซึ่งหากทำไม่ถูกทิศทาง ไม่รัดกุม มันไม่ดีกว่าอยู่เฉยแน่นอน เช่น ปีที่ผ่านมา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไปมาเลเซียก็เกิดเหตุระเบิดที่ รร.ลีการ์เดนท์ หาดใหญ่ และจ.ยะลา ซึ่งตนมั่นใจว่าหากไม่มีการเดินทางไปมาเลเซียสองเหตุการณ์นี้จะไม่เกิดขึ้น ดังนั้นหากเป็นเช่นนี้ก็ควรอยู่เฉยๆ ดีกว่านายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า รัฐบาลไม่ควรทำเรื่องความมั่นคงเป็นวาทกรรมหรือการเมืองเพราะเป็นเรื่องใหญ่ มาก และสิ่งที่ ร.ต.อ.เฉลิม พูดในสภา ก็ไม่มีอะไรที่เป็นข้อมูลเพิ่มเติม อาจเข้าใจว่าฝ่ายค้านไม่มีเอกสาร จึงอ่านให้ฟัง ทั้งที่่ฝ่ายค้านมีหมดแล้ว แต่ข้องใจเพราะเอกสารที่ลงนามนั้น กลับเป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียวของรัฐบาลไทยว่า จะให้เขามาพูดคุยด้วย แต่ไม่มีอะไรเป็นข้อผูกมัดคนที่มาพูดคุยกับเรา เรากลับมีแต่หน้าที่ต้องคุ้มครองความปลอดภัยให้เขา และ ร.ต.อ.เฉลิม ก็ไม่สามารถตอบได้ว่า กรอบของการพูดคุยครั้งต่อไปจะเป็นอย่างไร มีอะไรที่ต้องตกลงกันก่อนล่วงหน้าหรือไม่ รวมถึงเหตุการณ์นับแต่ลงนามมาก็ยังมีเหตุการณ์หลายอย่างที่เกิดขึ้น มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร ก็ตอบไม่ได้นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า หัวใจของเรื่องนี้คือ คนที่มีอำนาจสั่งการในพื้นที่ เข้ามาร่วมในการพูดคุยจริงหรือไม่และเข้ามาร่วมบนความเข้าใจที่จะนำไปสู่การมีคำตอบร่วมกันหรือไม่ เพราะคนที่ลงนาม ไม่มีอำนาจในการสั่งการ หากคนในพื้นที่หากเห็นว่าสิ่งที่ทำอยู่เวลานี้เขาไม่ได้รับความสนใจ หรือไม่มีส่วนร่วม หรือไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่พูดคุยนี้ ก็จะมีปฏิกิริยาในพื้นที่ ทำให้เกิดความรุนแรงหรือเหตุการณ์เชิงสัญลักษณ์ที่เกิดขึ้น จากนี้ไปต้องจับตาดูวันที่ 28 มี.ค.ที่จะมีการพูดคุยอีกรอบว่าปฏิกิริยาในพื้นที่จะเป็นอย่างไรเมื่อถามว่า มีการรายงานว่าผู้ก่อความไม่สงบเตรียมคาร์บอมบ์ และรถจักรยานยนต์บอมบ์เพื่อก่อเหตุ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ต้องระมัดระวังเพราะเมื่อเขาไม่มีส่วนร่วมก็ต้องแสดงบางสิ่ง บางอย่าง แต่ไม่ทราบว่าจะทำในเชิงสัญลักษณ์หรือก่อความรุนแรง แต่ในปีที่แล้วลีการ์เดนท์และยะลารุนแรงมากจึงต้องระวังผู้สื่อข่าวถามว่า แนวคิดลักษณะนี้จะทำให้เกิดสันติภาพหรือความรุนแรงจนควบคุมไม่ได้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า แนวคิดไม่ผิดเพราะการพูดคุยถือเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหา แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นเพราะคิดแต่เรื่องการเมืองหรือการสร้างกระแสที่ถือ ว่าเป็นเรื่องอันตรายเมื่อถามอีกว่า หากแนวทางนี้เดินต่อไม่ได้จะทบทวนเพื่อกลับไปสู่การพูดคุยในระดับเจ้าหน้าที่แทนการลงนามเหมือนที่ผ่านมาได้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คงจะยาก เพราะฝ่ายที่มาเซ็นเขาถือว่าระดับรัฐบาลได้รับรองการพูดคุยไปแล้ว จะไปพูดคุยในระดับต่ำกว่านี้คงยาก และเชื่อว่าในพื้นที่มีความเสี่ยงแน่นอน หากรัฐบาลยังเดินต่อแบบไม่รัดกุม ดังนั้นคำพูดที่ว่าดีกว่าอยู่เฉยๆ หรือลองทำไปก่อน ไม่ดีแล้วค่อยเลิกนั้นเป็นคำพูดที่ไม่รับผิดชอบต่อประชาชนในพื้นที่ที่ต้อง เผชิญความเสี่ยงตรงนี้ และหากไฟใต้ที่ลุกลามขึ้นมาอีกรอบ ก็เป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องรับผิดชอบนายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ยืนยันว่า ตนไม่เคยคิดนำเรื่องนี้มาเป็นการเมือง แต่เสียดายว่าที่ผ่านมาฝ่ายค้านเคยเตือนไว้หมดแล้วตั้งแต่ตอนที่รัฐบาลเชิญ ไปทำเนียบ โดยเตือนทั้งเรื่องแนวคิดของ พ.ต.ท.ทักษิณเป็นการเฉพาะว่าไม่รัดกุม แต่รัฐบาลก็ไม่ฟังคำท้วงติงเหล่านี้ เมื่อถามย้ำว่า หากรัฐบาลยังมีแนวคิดเช่นนี้ แต่ ร.ต.อ.เฉลิม จะเชิญนายอภิสิทธิ์และนายถาวร เสนเนียม ไปหารือจะเป็นประโยชน์หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ขอส่งข้อมูลไปให้ดีกว่า เพราะท่าทีของ ร.ต.อ.เฉลิมไม่ได้ทำงานไปในทิศทางเดียวกับรัฐบาล เรื่องใหญ่อย่างนี้นายกฯและรัฐบาลควรขอสิทธิมาแถลงในสภาและฟังความเห็น เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนก็พร้อมที่จะให้ประชุมลับ.

Blog Archive