Friday, March 8, 2013

นายกฯจ้อทีวี​ ชูเยือนอียูกระชับสัมพันธ์-ขยายลงทุน

นายกฯจ้อทีวี​ ชูเยือนอียูกระชับสัมพันธ์-ขยายลงทุน
นายกรัฐมนตรี บันทึกเทปรายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์กลางกรุงปราก เผยเยือนสวีเดน-เบลเยียม กระชับความสัมพันธ์ เป็นผลดีด้านเศรษฐกิจ การลงทุน การค้า และแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี พร้อมเดินหน้าเจรจาสิทธิพิเศษด้านการค้า...เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 9 มี.ค. รายการ รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้บันทึกเทปรายการที่กรุงปราก ประเทศเบลเยียม หลังจากเดินทางเยือนประเทศสวีเดนและเบลเยียมอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 4-7 มี.ค.ที่ผ่านมา โดยนายกรัฐมนตรี กล่าวตอนหนึ่งว่า ประเทศสวีเดนเป็นประเทศใหญ่ มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เป็นประตูสู่ยุโรปเหนือนอกจากนี้ ประเทศสวีเดนยังมีเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทน เช่น เทคโนโลยีด้านนาโน น่าจะทำการแลกเปลี่ยนเชิงวิชาการด้วย อย่างไรก็ตาม ประเทศสวีเดนและเบลเยียมมีความสัมพันธ์กับไทยมาเป็นร้อยปีแล้ว การเดินทางเยือนครั้งนี้จะเป็นผลดีต่อด้านเศรษฐกิจต่างๆ ที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง หากได้เดินทางมาก็เพื่อตอกย้ำความสัมพันธ์ และให้เกินความเชื่อมั่นซึ่งกันและกัน เหมือนกับซื้อใจ ซึ่งจะเป็นผลดีกับทั้งสามประเทศ​เบลเยียมไม่ใช่ประเทศที่ใหญ่ แต่มีความสำคัญ​เนื่องจากเป็นที่ตั้งของอียู ซึ่งเป็น 3 สถาบันที่มีผลทางด้านข้อกฎหมายและการค้าการลงทุนที่มีความสำคัญกับเรามาก การเดินทางเข้ามาเพื่อนำเสนอว่าเราพร้อมแล้วที่จะต้อนรับนักลงทุน นักท่องเที่ยว ขณะเดียวกัน เราก็เป็นศูนย์กลางประตูสู่อาเซียน เรายังได้นำธุรกิจไปพบกับเขาด้วย ซึ่งสวีเดนเองก็มีนักธุรกิจที่ทำเกี่ยวกับพลังงานสะอาดมาก การเดินทางมาเขาอาจจะสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทยด้วย นอกจากนี้ ไทยยังได้นำนักวิจัยของ 3 สถาบันของรัฐ เพื่อแลกเปลี่ยนเชิงวิชาการกับสวีเดน โดยมีความเชี่ยวชาญด้านพลังงานสะอาด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย นายกรัฐมนตรี กล่าวอย่างไรก็ตาม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังกล่าวถึงการได้รับสิทธิพิเศษ​ GSP ด้านการค้า ซึ่งกำลังจะหมดลงว่า เมื่อก่อนเราได้สิทธิพิเศษ GSP เนื่องจากจำนวนประชากรเราไม่เยอะมาก จึงได้สิทธิพิเศษด้านภาษี ต่อมาประเทศเรามีรายได้ดีขึ้น เขาก็จะเริ่มลดสิทธิพิเศษนี้ เราจึงเอาเรื่องนี้มาต่อรองด้วย ซึ่งล่าสุดทางรัฐสภาได้เห็นชอบให้มีการเจรจา ข้อดีของการเจรจา จะมีข้อดีหลายประเภท โดยเฉพาะสินค้าด้านการเกษตร อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และอื่นๆ รวม 14 รายการ หากเจรจาสำเร็จนอกจากจะมีสิทธิพิเศษทางภาษีแล้ว เรายังสามารถนำสินค้าเหล่านี้ส่งออกไปยังอียูได้มากขึ้นด้วย แต่อย่างไรก็ดี ก็จะมีสินค้าจากอียูเข้ามาประเทศไทยมากขึ้น คาดว่าจะมีการเจรจากลางปีนี้ พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรียังได้เปิดเผยถึงทางยุโรปที่ได้ให้การรับรองต้นกำเนิดสินค้าทางภูมิศาสตร์ (GI) ให้กับข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นครั้งแรก ขณะเดียวกัน รัฐบาลก็จะติดตามขอ GI สินค้าประเภทอื่น คือ กาแฟ ของดอยช้าง ดอยตุง ต่อไป ยุโรปเริ่มมั่นใจในประเทศไทย โดยดูจากสัญญาณจากการท่องเที่ยว การลงทุนที่เริ่มเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกัน ประเทศไทยกำลังลงทุนครั้งใหญ่ 2 ล้านล้าน เขาก็มองไทยใน 2 บทบาทคือ การมาลงทุนในประเทศไทย และการใช้ไทยเป็นฐานการลงทุนในอาเซียน ทางรัฐบาลและกลุ่มอียูเองก็ต้องการส่งเสริมศักยภาพด้านต่าง ๆ ด้วย น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าว.

No comments:

Post a Comment

Blog Archive