Tuesday, May 4, 2010

แกนนำเสื้อแดงยึกยักขอชัดเจนโรดแม็พ

แกนนำเสื้อแดงยึกยักขอชัดเจนโรดแม็พ



คมชัดลึก : นายกฯอ้างครม.รับทราบโรดแม็พ 5 ข้อแล้ว วอนทุกฝ่ายร่วมมือปฏิรูปประเทศ ยืนยันสิ่งที่ประกาศไปนั้นคิดและรับฟังรอบด้านแล้ว มอบ กอร์ปศักดิ์และอนุพงษ์เจรจากับม็อบแดง ย้ำชัดไม่เว้นความผิดอาญากับแกนนำที่กระทำผิด ระบุหกเดือนยุบสภาดีสุด-เดินหน้าต่อแม้นปช.ไม่เอาด้วยแต่อาจมีสิ่งขลุกขลักบ้าง ยอมรับ ชวนและพรรคสะตอไม่รู้เรื่องนี้แต่ 6 พ.ค.จะไปชี้แจงที่ประชุมพรรค ตอกอีกดอก แม้ว เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด






เมื่อเวลา 14.40 น.วันที่ 4 พ.ค.นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์หลังการประชุมครม.หลังจากที่นายอภิสิทธิ์แถลงข่าวเมื่อคืนวันที่ 3 พ.ค.ประกาศโรดแมป 5 ข้อในการสร้างความปรองดองและปฏิรูปประเทศ และนำเสนอโรดแมปต่อสังคมและนปช.เพื่อยุติเหตุวุ่นวายในบ้านเมือง จากนั้นนายกฯจะยุบสภาในวันที่ 14 พ.ย. โดยผู้สื่อข่าวถามถึงขั้นตอนและรายละเอียดการดำเนินการ นายกฯ กล่าวว่า เบื้องต้นยังไม่ทราบว่าแกนนำนปช.มีท่าทีที่ชัดเจนแล้วหรือไม่ และมีท่าทีอย่างไร เมื่อคืนวันที่ 3 พ.ค.ตนพูดชัดว่ากระบวนการปรองดองที่ตนนำเสนอเป็นสิ่งที่ตั้งใจทำตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป และแจ้งให้ครม.ทราบแล้วว่า แม้ว่าการดำเนินการกระบวนการนี้เป็นเรื่องที่เชิญชวนทุกภาคส่วนในสังคมเข้ามา แต่รัฐบาล ฝ่ายการเมือง หน่วยราชการต้องถือเป็นวาระสำคัญที่ต้องทำโดยเร่งด่วน
 “ผมถือว่าการเร่งเเก้ปัญหาความแตกแยกเป็นเรื่องสำคัญที่สุด แต่ในส่วนนี้กลุ่มผู้ชุมนุมต้องยุติการชุมนุม บ้านเมืองสงบเรียบร้อย ทุกคนทำหน้าที่ได้ตามปกติ ขอให้มาช่วยกันกำกับดูแลในเรื่องต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดความแตกแยก รัฐบาลจะจัดให้มีการเลือกตั้งได้ในวันที่ 14 พ.ย. หากไม่มาร่วมก็เดินหน้าตามแผน 5 ข้อ แต่เชื่อว่าทุกอย่างจะขลุกขลักและไม่ชัดเจนว่าบรรยากาศหรือสถานการณ์ที่เหมาะสมจะเลือกตั้งจะเป็นเมื่อใด ฉะนั้นแนวทางของรัฐบาลจะเดินตามแนวทางนี้และเป็นเรื่องที่นปช.ต้องตัดสินใจ” นายกฯ กล่าว
 เมื่อถามว่า คล้ายว่ารัฐบาลยอมจำนนคำข่มขู่คุกคามทั้งที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลระบุว่าจะไม่ยอมให้เป็นบรรทัดฐานทางการเมืองในประเทศ นายกฯ กล่าวว่า ตนไม่ได้คิดแบบนั้น หากหลายคนจำได้ตนพูดเสมอตั้งแต่ปีที่แล้วว่าการยุบสภามีเวลาที่เหมาะสม ตนเคยพูดไว้ 3 เงื่อนไข คือเศรษฐกิจ กรอบเวลา วันนี้ที่ตนพูดคืองบประมาณเดินได้ตามปกติและตนมั่นใจว่า หากงบประมาณเดินได้ตามปกติ บ้านเมืองสงบ เศรษฐกิจปีนี้แม้จะได้รับผลกระทบแต่เป็นเพียงช่วงเดือนเม.ย.-พ.ค. ประกอบกับ 3 เดือนแรกของปีนี้เศรษฐกิจดีเกินคาด ฉะนั้นเงื่อนไขการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจก็เป็นไปตามที่ตนเคยพูดไว้
 นายกฯ กล่าวต่อว่า ส่วนกติกานั้น ขอเรียนว่ามีความเห็นที่แตกต่างหลากหลายมาตลอดและกระบวนการเรื่องนี้หาจุดลงตัวไม่ได้ ฉะนั้นเมื่อถึงจุดหนึ่งก็อยู่ที่แผนข้อ 5 ที่ต้องไปทำกระบวนการและมีความชัดเจนออกมาว่าจะเอาอย่างไรแต่สามารถหาข้อยุติได้ใน 6 เดือนข้างหน้า ส่วนความสงบนั้นหาก 6 เดือนไม่มีการชุมนุมเคลื่อนไหวต่อต้านและขัดขวางการทำหน้าที่ของฝ่ายต่างๆจะเป็น 6 เดือนที่แตกต่างกับตลอดปีกว่าๆ ที่ผ่านมาและเป็นบรรยากาศที่เอื้อต่อการเลือกตั้งได้ ตรงนี้เป็นจุดยืนที่ตนพูดมาตั้งแต่ต้น แม้แต่ในช่วงที่มีการเจรจากับแกนนำนปช.ตนมีเงื่อนไขไว้ในช่วงปลายปี ฉะนั้นถือว่าเป็นการตัดสินใจในสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับบ้านเมือง หากตนจะไปจำนนคือต้องยุบสภาทันที หรือ 15-30 วันที่ต้องว่ากันไป
 เมื่อถามว่าแม้จะไม่มีการชุมนุมแต่ไม่มีหลักประกันเรื่องวินาศกรรมที่เกิดควบคู่กันมาตลอดจะยุติและการลงพื้นที่หาเสียงจะปลอดภัยหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า วินาศกรรมเป็นส่วนหนึ่งที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด อย่างน้อยที่สุดคดีอาญาไม่มีเปลี่ยนแปลง ทุกอย่างเดินหน้าโดยเฉพาะคดีหลักๆในสองเรื่องที่กรมสอบสวนคดีพิเศษรับไปดำเนินการแล้วและเดินหน้าต่อเต็มที่โดยไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ในกระบวนการปรองดองนั้นไม่ได้พูดถึงการนิรโทษกรรมให้ใครในทางอาญาทั้งสิ้น จะยกเว้นประชาชนธรรมดาเข้าไปในพื้นที่ชุมนุมตามพ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีหลักและมีหมายจับ ทุกอย่างจะดำเนินการตามปกติต่อไป
 “ส่วนเหตุการณ์ 6 เดือนข้างหน้านั้นต้องดูว่ากระบวนการก่อการร้ายและวินาศกรรมยังมีอยู่หรือไม่ แต่เชื่อว่าคดีที่เริ่มต้นแล้วและมีการจับกุมตรวจค้นพบอาวุธนั้นทำให้ทราบชัดเจนขึ้นว่า เครือข่ายการก่อการร้ายเกี่ยวกับใครบ้าง ก็น่าจะทำให้เจ้าหน้าที่สามารถทำงานในเรื่องนี้ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น” นายกฯ กล่าว
 เมื่อถามว่าหลักประกันกับผู้ชุมนุมหากมีการรับเงื่อนไขนี้จะเป็นเช่นใด นายกฯ กล่าวว่า หากรับเงื่อนไขจะมีวิธีบริหารยุติการชุมนุมคือดูแลความปลอดภัยของประชาชนที่เดินทางกลับ และเจ้าหน้าที่รัฐต้องตรวจสอบอาวุธเพื่อให้เกิดความปลอดภัยและมั่นใจของทุกฝ่าย เมื่อถามว่าเวลาที่จำกัดคือ 6 เดือน ข้อใดใน 5 ข้อจะสำเร็จก่อน นายกฯ กล่าวว่า แต่ละเรื่องไม่เหมือนกัน เช่น หากไล่จากเรื่องเฉพาะเช่นการสอบสวนหรือตรวจสอบข้อเท็จจริงในเหตุการณ์นั้น ตนคิดว่า 6 เดือนเพียงพอ ส่วนกติกาการเมืองเรื่องใดเร่งด่วนก็ทำก่อน ส่วนเรื่องไม่เร่งด่วนหากตกลงกันได้ ก็รอไว้หลังการเลือกตั้งได้ ส่วนกระบวนการสื่อและสถาบันพระมหากษัตริย์นั้นต้องทำงานต่อเนื่อง ส่วนการแก้ปัญหาโครงสร้างนั้นแน่นอนว่าไม่มีใครสามารถทำเสร็จได้ภายใน 6 เดือนแต่สิ่งที่จะสร้างขึ้นมาคือกลไกและกระบวนการที่จะทำเรื่องนี้ได้ต่อเนื่อง ซึ่งในวันที่12-13 พ.ค.จะมีการประชุมคณะกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งในชุมชนและได้ประสานภาคประชาสังคมมาทำข้อเสนอการปฏิรูปประเทศและสังคม ที่จะนำไปสู่การจัดสมัชชาในวันที่ 20 พ.ค. และข้อเสนอนี้จะเดินหน้าเป็นรูปธรรมในข้อเสนอย่อยๆเช่น ที่ดินทำกิน หนี้สิน โอกาสและความยากจน
 เมื่อถามว่า จะยกเลิกพ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ไปเร็วมากเพราะยังไม่ทราบว่าการชุมนุมจะยุติหรือไม่ ขอเรียนว่าพ.ร.ก.ฉบับนี้ต้องมีอีกระยะหนึ่ง เช่น การบริหารยุติการชุมนุมต้องมีการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่เพื่อดูแลความปลอดภัยทั้งบุคคลและสถานที่ ตรงนี้มีความจำเป็น รวมทั้งเรื่องกลไกของสื่อที่ต้องทำขึ้นมาเพื่อไม่ให้เกิดการปลุกระดมและปลุกปั่นได้ เมื่อถามว่าแสดงว่านายกฯจะใช้พ.ร.ก.ฉบับนี้ไปจนกว่าจะแน่ใจ นายกฯกล่าวว่า ต้องใช้ไป ขอเทียบเคียงให้เห็นเมื่อปีที่แล้วว่าเมื่อเหตุการณ์ยุติลง มีเวลาสองสัปดาห์ก่อนยกเลิกพ.ร.ก.ฉบับนี้ ขั้นตอนตรงนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์
 เมื่อถามว่า ข้อเสนอ 5 ข้อของนายกฯ ที่เสนอไปนั้น จะมั่นใจว่าท่าทีของนปช.จะเป็นเอกภาพหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า เรากำลังพูดถึงคนจำนวนมากและหลากหลาย ตนคิดว่ามันคงจะไม่ยากเกินไปที่จะรู้ว่าอะไรที่เป็นขบวนการและระบบหรืออะไรเป็นสิ่งที่อาจมีปัญหาควบคุมไม่ได้ แต่สิ่งหนึ่งในกระบวนการปรองดองที่ตนยืนยันว่าทุกข้อนั้น เช่น สื่อที่สร้างความแตกแยกหรือปัญหาการล่วงละเมิดสถาบัน มันไม่พอที่แต่ละฝ่ายจะบอกว่าตัวเองไม่เกี่ยว ทุกคนต้องมาช่วยกันทำว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นจะแก้ไขอย่างไร เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ที่มีพฤติกรรมเช่นนี้ชัดเจน มีชื่อของบุคคลว่าใครรับผิดชอบบ้าง ทุกฝ่ายและนปช.ต้องช่วยกันว่าสื่อนี้เกี่ยวข้องกับนปช.หรือไม่ เช่น เว็บไซต์นปช.ยูเอสเอ ตกลงแล้วเกี่ยวข้องกับนปช.หรือไม่ หากเกี่ยวข้องก็แสดงว่าไม่เข้าสู่กระบวนการปรองดองเพราะมีพฤติกรรมชัดเจน หากไม่เกี่ยวข้องก็ต้องร่วมมือกับเราในการจัดการ
 “ตรงนี้เป็นตัวอย่างที่ยกให้เห็นว่าต้องเข้าเงื่อนไขแบบนี้และคงไม่ใช่เรื่องที่บอกว่ามีปัญหาแล้วไม่เดินตามกระบวนการปรองดองแต่ไปบอกว่าไม่เกี่ยวและไม่รู้คงไม่ได้” นายกฯ กล่าว
 เมื่อถามว่า นายกฯมั่นใจหรือไม่ว่าการตัดสินใจของแกนนำนปช.จะเป็นอำนาจเด็ดขาด นายกฯ กล่าวว่า “เป็นระบบของฝ่ายนั้น ผมก้าวล่วงไม่ได้ ที่ผ่านมาการบริหารการชุมนุม แกนนำนปช.ต้องบริหารจัดการไป ผมขอเรียนว่า สังคมดูออกว่าอะไรเป็นอะไร”
 เมื่อถามว่า พรรคร่วมรัฐบาลเห็นด้วยกับข้อเสนอ 5 ข้อนี้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่มีปัญหา แผนที่เสนอก็เสนอในนามของรัฐบาล เมื่อถามว่า สิ่งใดที่ทำให้นายกฯยอมร่นเวลาการยุบสภาจาก 9 เดือนเหลือ 6 เดือน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ประเมินจากสถานการณ์และประเมินจากสิ่งที่จะต้องดำเนินการ คิดว่าเรื่องเศรษฐกิจได้อธิบายแล้ว เรื่องกติกาบางทีก็อยู่ที่ว่าถ้าไม่มีกรอบเวลาที่ชัดเจนก็จะไม่หาข้อยุติกัน ส่วนเรื่องความสงบถ้ามันสงบ 6 เดือนต่อเนื่องกันตนว่ามันก็นานกว่าทุกช่วงระยะเวลาในหลานปีที่ผ่านมา เมื่อถามว่า แกนนำนปช.เรียกร้องให้พรคร่วมรัฐบาลแถลงยืนยันร่วมกัน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่มีความจำเป็นเพราะอำนาจการยุบสภาไม่ได้เป็นของครม.แต่เป็นของนายกฯ ที่จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ
 เมื่อถามว่า นปช.ยื่นข้อเสนอว่าควรจะต้องเปิดสัญญาณพีทีวี สัญญาณอินเตอร์เน็ตและวิทยุชุมชนในเครือข่ายนปช.ทั้งหมด นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เมื่อกลไกที่มีดูแลเรื่องสื่อเรียบร้อยก็จะสามารถดำเนินการได้ตามข้อเสนอข้อที่ 3 เมื่อถามว่า แกนนำนปช.ที่ถูกหมายจับเจ้าหน้าที่สามารถจับกุมซึ่งหน้าได้ ถ้าแกนนำนปช.รับข้อเสนอตามแผนปรองดอง เมื่อกลับบ้านจะโดนล็อกตัวหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า “เขาก็ควรจะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ที่เขาสามารถจะได้รับจากกระบวนการยุติธรรมได้” เมื่อถามว่า เท่ากับว่าหากเจ้าหน้าที่เจอซึ่งหน้าก็จับกุมได้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนคิดว่าคงบริหารไม่ให้เกิดความวุ่นวาย แต่ทุกคนความรับผิดทางกฎหมายเป็นอย่างไรก็ยังเป็นเช่นนั้นสิทธิตามกกฎหมายมีเช่นไรก็ยังมีเช่นนั้น
 ผู้สื่อข่าวถามว่า การประกาศยุบสภาของนายกฯจะเกิดปัญหาข้าราชการเกียร์ว่างหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ หัวเราะก่อนกล่าวว่า ไม่มีใครรู้แน่นอน มันต้องบริหารทั้งสถานการณ์จากวันนี้ถึงเดือนพ.ย.และเลือกตั้ง ไม่มีปัญหา เพราะไม่มีรัฐบาลชุดไหนที่ไม่มีอายุไม่สิ้นสุดอยู่แล้ว เมื่อถามต่อว่า ทำไมนายกฯไม่อยู่จนครบวาระและจะตอบคำถามคนไม่อยากให้ยุบสภาได้อย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า กระบวนการปรองดองคงไม่มีใครที่จะได้ทุกสิ่งทุกอย่างตามใจชอบ และจริงๆก่อนที่จะมีการชุมนุมตนก็ส่งสัญญาณมาโดยตลอดว่า ตนเห็นว่าการยุบสภาอาจจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้แต่ต้องเป็นเวลาที่เหมาะสม ดังนั้นสิ่งนี้เป็นจุดยืนของตนมาโดยตลอด และเข้าใจเห็นใจคนที่อยากจะเห็นการที่รัฐบาลอยู่ครบวาระและตนได้ให้การยืนยันว่าการตัดสินใจของตนอยู่บนหลักการที่เคยพูดมาโดยตลอด ไม่ใช่เป็นเรื่องการไม่เสียหลักในเรื่องของนิติรัฐ และไม่มีการนิรโทษกรรมทางอาญาใครมีความผิดทางกฎหมายอย่างไรต้องดำเนินการ
 เมื่อถามว่า นายกฯมั่นใจหรือไม่ว่าแผนปรองดองจะเป็นคำตอบสุดท้ายในเรื่องอายุรัฐบาลจะอยู่อีก 6 เดือน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่มีอะไรแล้วในเรื่องการที่ต่อรอง ตนคิดว่าเป็นการนำเสนอที่ครบถ้วนในตัวของมันเอง ถ้าตอบรับก็รับถ้าไม่ตอบรับก็ไม่ตอบรับ ตนนึกไม่ออกว่าสังคมจะปล่อยให้เป็นเรื่องของการมาเจรจาต่อรองอะไรกันอีก เพราะคิดว่าสิ่งที่ตนพูดไปสดับรับฟังจากทุกฝ่ายแล้ว แม้กระทั่งคนซึ่งเกี่ยวข้องอยู่กับผู้ชุมนุมเองก็ยอมรับว่ามันเป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับการแก้ปัญหาในภาพรวม ถ้าไม่ตอบรับก็ต้องดำเนินการบังคับใช้กฎหมาย
 เมื่อถามว่า ต้องมีการลงสัตยาบันกันหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ต้องลงสัตยาบันเพราะการแถลงต่อสาธารณะมันผูกมัดทุกอย่างอยู่แล้วในตัว และตนได้อธิบายเงื่อนไขต่างๆอย่างชัดเจน ตอนนี้มันก็มีเรื่องรายละเอียดเท่านั้น เพราะแต่ละข้อต้องมีบุคคลและกลไกที่ต้องมารับผิดชอบ ต้องฟังและช่วยกันคิดเร่งจัดตั้งกันขึ้นมา
 เมื่อถามว่า นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วย และยืนยันว่าไม่เป็นมติพรรค นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ยอมรับว่าไม่ใช่มติพรรค แต่คิดว่าในหลักของการตัดสินและการบริหารสถานการณ์ตนได้ทำความเข้าใจกับสมาชิกพรรคในระดับหนึ่ง ส่วนความเห็นของนายชวนนั้น ตนยังไม่เห็นรายละเอียดการให้สัมภาษณ์ แต่เห็นที่สรุปออกมา 2 เรื่อง คือไม่เห็นด้วยว่ายุบสภาในลักษณะที่เป็น การจำนนต่อการกดดันซึ่งตนได้อธิบาย แล้วหลักยุบสภาที่ตนคิดว่าเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับที่ตนพูดมาก่อนหน้านี้ และไม่เห็นด้วยกับการนริโทษกรรมคดีอาญาซึ่งไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ ปรองดองอยู่แล้ว ดังนั้นตนไม่แน่ใจว่าในรายละเอียดนายชวนพูดว่าอย่างไร แต่นายชวนได้พูด 2 เรื่องนี้และตนเห็นว่าไม่ขัดอะไรกับสิ่งที่ตนตัดสินใจไป
 เมื่อถามว่า นายกฯมั่นใจหรือไม่ว่าการตัดสินใจบริหารตามแผนนี้พรรคประชาธิปัตย์จะยอมรับ การตัดสินใจของนายกฯ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนมั่นใจ แต่ในพรรคมีสิทธิ์แสดงความเห็นแต่เป็นเรื่องที่ตนมั่นใจ เพราะการพูดคุยรายงานสถานการณ์กับสมาชิกในพรรคทำอย่างต่อเนื่อง แต่เป็นเรื่องปกติว่าความคิดเห็นต่อสถานการณ์มีหลากหลาย ส.ส.ของพรรคก็รับความคิดเห็นจากกลุ่มคนที่หลากหลาย บางคนจะยังสับสนบ้าง บางคนอาจะเห็นด้วยไม่เห็นด้วยเป็นเรื่องปกติ และการประชุมพรรคประชาธิปัตย์ในวันที่ 6 พ.ค.นี้ตนจะไปประชุมและอธิบาย
 เมื่อถามย้ำว่า จะไม่นิรโทษกรรมให้เฉพาะคดีอาญา หมายความว่าแกนนำนปช.ก็จะไม่มีความผิดหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า "ทำไม ขณะนี้เขามีหมายจับอยู่ก็เดินต่อ กระบวนการเดินต่อ เพราะหมายจับที่ออกไปเป็นคดีอาญาทั้งสิ้น" เมื่อถามว่า ไม่ว่าเหตุการณ์จะจบลงอย่างไรแกนนำนปช.ทั้งหมดที่มีหมายจับหมายเรียกจะต้องถูกดำเนินคดี นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า “ต้องมีการดำเนินคดีตามปกติ สิทธิและหน้าที่ของเขาเป็นอย่างไรก็ยังเป็นอย่างนั้น และในกระบวนการเข้าไปแล้วจะต้องเข้าสู่ขั้นตอนที่จะต้องเป็นดุลยพินิจของศาล เราต้องเคารพการตัดสินของศาล ความหนักเบาจะมีการประกันศาลจะใช้ดุลยพินิจในการตัดสิน”
 ผู้สื่อข่าวถามว่า คณะกรรมการเลือกตั้ง(กกต.)อยากให้นายกฯสรุปให้ชัดเจนว่าจะยุบสภาวันใด นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า “ไม่เป็นไร เราอย่าไปทำให้เรื่องซับซ้อนไปอีก เอาว่าจริงๆแล้วเลือกตั้ง 14 พ.ย.”
 เมื่อถามว่า ในที่ประชุมครม.ได้มีการติดต่อกับแกนนำผู้ชุมนุมหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่มี พอดีประชุมครม.มีการตัดสัญญาณโทรศัทพ์ทุกคนอยู่แล้ว แต่หากมีการยุติการชุมนุมต้องมีการบริหารขั้นตอนพื่อประโยชน์เรื่องความปลอดภัยของผู้ชุมนุม ในครม.ตนได้มอบหมายให้ฝ่ายการเมืองโดยนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ส่วนฝ่ายข้าราชการประจำได้มอบให้พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบ กรณีที่จะมีการยุติการชุมนุม 2 คนนี้ต้องเป็นผู้ประสานงานจัดการยุติการชุมนุม การออกจากที่ชุมนุมให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่มีปัญหาเรื่องความปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ตนก็หวังไม่ต่างจากประชาชนคนไทยทั่วไปว่า จะเป็นโอกาสที่จะออกจากวิกฤติอีกครั้งหนึ่ง วันนี้อาจมีโอกาสแล้วอาจจะผ่อนคลายลงบ้างแต่ไม่ทราบว่าท่าทีสุดท้ายของนปช .จะเป็นอย่างไร แต่คิดว่าสิ่งที่ตั้งเอาไว้ 6 เดือนทุกอย่างสงบเรียบร้อยจริงก็ได้กำชับไปแล้วว่าเป็นภารกิจสำคัญที่สุดของรัฐบาลในการแก้ปัญหาความแตกแยกทั้งหมดซึ่งต้องขอความร่วมมือจากประชาชนด้วย
 เมื่อถามว่า จะกลายเป็นความสุขชั่วคราวแล้วจะเป็นทุกข์หนักของประเทศในอนาคตหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อยู่ที่พวกเราทุกคนว่าในที่สุดจะเป็นเรื่องชั่วคราวหรือไม่ ตนมีหน้าที่จะไม่ให้เป็นอย่างนั้นและตนต้องรับผิดชอบการตัดสินของตน เมื่อถามอีกว่า ข้อเสนอที่ 5 เหมือนจะเป็นประโยชน์เฉพาะนักการเมืองไม่กี่คน จะตอบคำถามประชาชนที่ไม่ได้ทำผิดกฎหมายได้อย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนอธิบายแล้วว่าจริงๆตนจบแค่ 4 ข้อ มันก็เป็นคำตอบกับโจทย์ที่เกี่ยวข้องกับประชาชนในวงกว้างแต่คิดว่าวันนี้ เราไม่ยอมรับความจริงว่าความขัดแย้งอีกส่วนหนึ่งเป็นปัญหาของนักการเมืองกันเอง ถ้าเราไม่เผชิญตรงนั้นคำตอบมันก็ไม่ครบ ส่วนการดำเนินการตามข้อ 5 จะใช้วิธีการอย่างไร ตนกำลังเปิดทางเลือกอยู่ประมาณ 2 ทาง และกำลังตัดสินใจว่ากลไกดำเนินการเรื่องนี้เป็นอย่างไร แต่การหาข้อยุติแม้จะเกี่ยวข้องกับนักการเมืองโดยตรงก็ต้องมีคำตอบให้กับสังคม  เมื่อถามถึงกรณีที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ปรากฏตัวต่อสาธารณอีกครั้งในช่วงนี้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อยากจะพิสูจน์ว่าไม่ได้เป็นไปตามข่าวลือ และคิดว่าเป็นการยืนยันว่าพ.ต.ท.ทักษิณก็เกี่ยวข้องกับกระบวนการต่างๆที่ เกิดขึ้นทั้งหมดอยู่ ยังมีการเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิด
ม็อบแดงเก็บข้าวของรอลุ้นระทึกแกนนำรับโรดแม็พ
 เมื่อเวลา 17.00 น. บรรยากาศการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เข้าสู่วันที่ 53 ตลอดช่วงบ่ายที่ผ่านมาภายหลังฝนตกหนักกระทั่งหยุดตก บนเวทีปราศรัยยังคงมีการขึ้นร้องเพลงจากแกนนำและผู้ร่วมชุมนุมตลอดเวลา ทั้งนี้ในช่วงเวลา 16.00 น. แกนนำหลัก อาทิ นายวีระ มุสิกพงษ์ นายจตุพร พรหมพันธ์ และนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ได้ร่วมประชุมหารือกัน โดยบนเวทีปราศรัยได้ระบุว่า ภายในเวลาประมาณ 18.00 น. ทางแกนนำจะชี้แจงแนวทางข้อเสนอปรองดองโรดแมป 5 ข้อของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรี รวมถึงการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 14 พ.ย.นี้ อย่างไรก็ตาม ตามเต๊นท์ของผู้ชุมนุมปรากฏว่า บางส่วนได้ทยอยเก็บของทำความสะอาดแล้วแม้ว่า ทางแกนนำจะยังไม่ได้ประกาศความชัดเจนก็ตาม
เมื่อเวลา 18.00น.แกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงได้ประกาศมติโดยข้อความชัดเจนเกี่ยวกับโรดแม็พและจะไม่ขอนิรโทษกรรมโดยให้ดำเนินการตามกฎหมาย








ข่าวที่เกี่ยวข้องหุ้นปิดบวก33.35จุดซื้อขาย4หมื่นล้านรับโรดแม็พสมศักดิ์ชมอภิสิทธิ์ฉลาดคลอดโรดแม็พมาต่อรอง "ทักษิณ"ลั่นไม่เกี่ยวกับโรดแม็พแดงตัดสินใจเองทุกฝ่ายขานรับโรดแม็พเลือกตั้ง14พ.ย. แดงอุดร1พันเข้ากรุงเทพฯไม่สนโรดแม็พอภิสิทธิ์

NEWSblank ข่าวออนไลน์
เรียนภาษาอังกฤษ | หอพัก | ดาวน์โหลด | vol6

พันธมิตรฯค้านโรดแม็ป นัดถกแกนนำ6พ.ค.นี้

พันธมิตรฯค้านโรดแม็ป นัดถกแกนนำ6พ.ค.นี้

สุริยะใส กตะศิลาสุริยะใส ชี้โรดแม็ป มาร์ค ข้ามขั้นตอนไป ผิดที่ผิดเวลา ช้ี เป็นการหาทางลงให้แดง-รัฐบาล เชื่อกลุ่มการร้าย-พวกล้มเจ้า ยังไม่หยุด จี้จัดการก่อน หวั่นกลายเป็นการต่อรองผลประโยชน์ ระบุ 14 พ.ค. มุ่งเลือกตั้งอย่างเดียว เตรียมถกเคลื่อนไหว 6 พ.ค.เมื่อวันที่ 4 พ.ค.นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และ เลขาธิการพรรคการเมืองใหม่ เปิดเผยถึงโรดแม็ปของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ  นายกรัฐมนตรี ว่า  เพียงแนวคิดและหลักการกว้างๆ ซึ่งก็ไม่ต่างกับแนวนโยบายของรัฐบาลและคำปราศรัยของนายกรัฐมนตรีในวันรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี วันแรกซึ่งผ่านมากว่าปีครึ่งรัฐบาลก็ยังไม่ได้ทำอะไรเท่าที่ควรตามนโยบายที่แถลงไว้ฉะนั้นแนวคิดโรดแมป 5 ข้อจึงยังไม่ใช่เรื่องใหม่ ที่สำคัญการประกาศโรดแมปครั้งนี้เกิดขึ้นบนสภาวะที่สังคมกำลังถูกคุกคามจาก กลุ่มก่อการร้ายและขบวนการล้มเจ้า ซึ่งรัฐบาลก็เป็นผู้ยืนยันเองว่ามีขบวนการดังกล่าวอยู่จริง และขบวนการดังกล่าวก็เชื่อมโยงเกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมที่ผิดกฎหมายของคน เสื้อแดง แต่รัฐบาลยังไม่สามารถจัดการกับกลุ่มก่อการร้ายและขบวนการล้มเจ้า นอกจากนี้ยังไม่มีหลักประกันให้กับสังคมไทยว่าจะรอดพ้นจากการคุกคามของเครือ ข่ายดังกล่าว แต่นายกฯ กลับมาชิงเสนอโรดแมปประเทศไทยซึ่งเป็นการก้าวข้ามขั้นตอน และอาจจะเสียโอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มประชาชน ที่สนับสนุนรัฐบาลในการจัดการกับกลุ่มก่อการร้ายและขบวนการล้มเจ้าก่อนไป ปฏิรูปประเทศไทยนายสุริยะใส กล่าวอีกว่า กลุ่มก่อการร้ายและขบวนการล้มเจ้าจะยังไม่เลิกเคลื่อนไหวแน่นอนและจะได้ โอกาสปรับตัวเพื่อเคลื่อนไหวต่อไป  เวทีปรองดองก็จะ กลายเป็นเวทีของกลุ่มการเมืองที่นำเอาประเด็นที่เป็นประโยชน์ส่วนตนเข้ามาเสนอ เช่น การนิรโทษกรรม พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลุ่มก่อการร้าย ขบวนการล้มเจ้า แกนนำ นปช. อดีต สส.บ้านเลขที่ 111 การเสนอร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับ คปพร. เป็นต้น นอกจากนี้การประกาศวันเลือกตั้งล่วงหน้าไว้จะทำให้พรรคการเมืองหันไปสนใจ และ เตรียมการเลือกตั้งมากกว่า ซึ่งจะทำให้อารมณ์ของประชาชนและบรรดาข้าราชการประจำไปจดจ่ออยู่กับผลการ เลือกตั้งและรัฐบาลชุดใหม่ ทำให้แผนปรองดองถูกลดความสำคัญลงในที่สุด และหากหลังเลือกตั้งได้รัฐบาลนอมินิทักษิณหรือรัฐบาลที่ไม่เอาไหน แผนปรองดองก็จะเป็นเพียงของเล่นนักการเมืองเท่านั้นนายสุริยะใส กล่าวอีกว่า แม้แนวคิดโรดแมปของนายกฯ จะเป็นแนวคิดที่ดีหลายฝ่ายเห็นด้วยก็ตาม แต่มาเสนอผิดที่ผิดทาง ผิดจังหวะและเวลา ก็อาจเป็นเรื่องยากที่จะประสบความสำเร็จได้ ผมไม่เคยปฏิเสธแนวทางปรองดองและสมานฉันท์แต่ถ้าสังคมยังไม่สามารถแยกแยะถูก ผิดได้กระบวนการปรองดองแห่งชาติก็จะไม่บรรลุจุดมุ่งหมาย จะเป็นเพียงการหาทางลงหรือทางออกให้กับแกนนำม็อบและรัฐบาลอภิสิทธ์เท่านั้น ซึ่งไม่ใช่ทางออกของสังคมไทย ส่วนท่าทีและจุดยืนของพันธมิตรฯ นั้น แกนนำทั้ง 2 รุ่นจะประชุมกันในวันพฤหัสบดีที่ 6 พ.ค.นี้ ที่บ้านพระอาทิตย์ โดยจะมีการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการเวลา 12.00 น.


NEWSblank ข่าวออนไลน์
เรียนภาษาอังกฤษ | หอพัก | ดาวน์โหลด | vol6

แกนนำแดงยึกยักขอชัดเจนโรดแม็พ

แกนนำแดงยึกยักขอชัดเจนโรดแม็พ



คมชัดลึก : นายกฯอ้างครม.รับทราบโรดแม็พ 5 ข้อแล้ว วอนทุกฝ่ายร่วมมือปฏิรูปประเทศ ยืนยันสิ่งที่ประกาศไปนั้นคิดและรับฟังรอบด้านแล้ว มอบ กอร์ปศักดิ์และอนุพงษ์เจรจากับม็อบแดง ย้ำชัดไม่เว้นความผิดอาญากับแกนนำที่กระทำผิด ระบุหกเดือนยุบสภาดีสุด-เดินหน้าต่อแม้นปช.ไม่เอาด้วยแต่อาจมีสิ่งขลุกขลักบ้าง ยอมรับ ชวนและพรรคสะตอไม่รู้เรื่องนี้แต่ 6 พ.ค.จะไปชี้แจงที่ประชุมพรรค ตอกอีกดอก แม้ว เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด






เมื่อเวลา 14.40 น.วันที่ 4 พ.ค.นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์หลังการประชุมครม.หลังจากที่นายอภิสิทธิ์แถลงข่าวเมื่อคืนวันที่ 3 พ.ค.ประกาศโรดแมป 5 ข้อในการสร้างความปรองดองและปฏิรูปประเทศ และนำเสนอโรดแมปต่อสังคมและนปช.เพื่อยุติเหตุวุ่นวายในบ้านเมือง จากนั้นนายกฯจะยุบสภาในวันที่ 14 พ.ย. โดยผู้สื่อข่าวถามถึงขั้นตอนและรายละเอียดการดำเนินการ นายกฯ กล่าวว่า เบื้องต้นยังไม่ทราบว่าแกนนำนปช.มีท่าทีที่ชัดเจนแล้วหรือไม่ และมีท่าทีอย่างไร เมื่อคืนวันที่ 3 พ.ค.ตนพูดชัดว่ากระบวนการปรองดองที่ตนนำเสนอเป็นสิ่งที่ตั้งใจทำตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป และแจ้งให้ครม.ทราบแล้วว่า แม้ว่าการดำเนินการกระบวนการนี้เป็นเรื่องที่เชิญชวนทุกภาคส่วนในสังคมเข้ามา แต่รัฐบาล ฝ่ายการเมือง หน่วยราชการต้องถือเป็นวาระสำคัญที่ต้องทำโดยเร่งด่วน
 “ผมถือว่าการเร่งเเก้ปัญหาความแตกแยกเป็นเรื่องสำคัญที่สุด แต่ในส่วนนี้กลุ่มผู้ชุมนุมต้องยุติการชุมนุม บ้านเมืองสงบเรียบร้อย ทุกคนทำหน้าที่ได้ตามปกติ ขอให้มาช่วยกันกำกับดูแลในเรื่องต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดความแตกแยก รัฐบาลจะจัดให้มีการเลือกตั้งได้ในวันที่ 14 พ.ย. หากไม่มาร่วมก็เดินหน้าตามแผน 5 ข้อ แต่เชื่อว่าทุกอย่างจะขลุกขลักและไม่ชัดเจนว่าบรรยากาศหรือสถานการณ์ที่เหมาะสมจะเลือกตั้งจะเป็นเมื่อใด ฉะนั้นแนวทางของรัฐบาลจะเดินตามแนวทางนี้และเป็นเรื่องที่นปช.ต้องตัดสินใจ” นายกฯ กล่าว
 เมื่อถามว่า คล้ายว่ารัฐบาลยอมจำนนคำข่มขู่คุกคามทั้งที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลระบุว่าจะไม่ยอมให้เป็นบรรทัดฐานทางการเมืองในประเทศ นายกฯ กล่าวว่า ตนไม่ได้คิดแบบนั้น หากหลายคนจำได้ตนพูดเสมอตั้งแต่ปีที่แล้วว่าการยุบสภามีเวลาที่เหมาะสม ตนเคยพูดไว้ 3 เงื่อนไข คือเศรษฐกิจ กรอบเวลา วันนี้ที่ตนพูดคืองบประมาณเดินได้ตามปกติและตนมั่นใจว่า หากงบประมาณเดินได้ตามปกติ บ้านเมืองสงบ เศรษฐกิจปีนี้แม้จะได้รับผลกระทบแต่เป็นเพียงช่วงเดือนเม.ย.-พ.ค. ประกอบกับ 3 เดือนแรกของปีนี้เศรษฐกิจดีเกินคาด ฉะนั้นเงื่อนไขการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจก็เป็นไปตามที่ตนเคยพูดไว้
 นายกฯ กล่าวต่อว่า ส่วนกติกานั้น ขอเรียนว่ามีความเห็นที่แตกต่างหลากหลายมาตลอดและกระบวนการเรื่องนี้หาจุดลงตัวไม่ได้ ฉะนั้นเมื่อถึงจุดหนึ่งก็อยู่ที่แผนข้อ 5 ที่ต้องไปทำกระบวนการและมีความชัดเจนออกมาว่าจะเอาอย่างไรแต่สามารถหาข้อยุติได้ใน 6 เดือนข้างหน้า ส่วนความสงบนั้นหาก 6 เดือนไม่มีการชุมนุมเคลื่อนไหวต่อต้านและขัดขวางการทำหน้าที่ของฝ่ายต่างๆจะเป็น 6 เดือนที่แตกต่างกับตลอดปีกว่าๆ ที่ผ่านมาและเป็นบรรยากาศที่เอื้อต่อการเลือกตั้งได้ ตรงนี้เป็นจุดยืนที่ตนพูดมาตั้งแต่ต้น แม้แต่ในช่วงที่มีการเจรจากับแกนนำนปช.ตนมีเงื่อนไขไว้ในช่วงปลายปี ฉะนั้นถือว่าเป็นการตัดสินใจในสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับบ้านเมือง หากตนจะไปจำนนคือต้องยุบสภาทันที หรือ 15-30 วันที่ต้องว่ากันไป
 เมื่อถามว่าแม้จะไม่มีการชุมนุมแต่ไม่มีหลักประกันเรื่องวินาศกรรมที่เกิดควบคู่กันมาตลอดจะยุติและการลงพื้นที่หาเสียงจะปลอดภัยหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า วินาศกรรมเป็นส่วนหนึ่งที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด อย่างน้อยที่สุดคดีอาญาไม่มีเปลี่ยนแปลง ทุกอย่างเดินหน้าโดยเฉพาะคดีหลักๆในสองเรื่องที่กรมสอบสวนคดีพิเศษรับไปดำเนินการแล้วและเดินหน้าต่อเต็มที่โดยไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ในกระบวนการปรองดองนั้นไม่ได้พูดถึงการนิรโทษกรรมให้ใครในทางอาญาทั้งสิ้น จะยกเว้นประชาชนธรรมดาเข้าไปในพื้นที่ชุมนุมตามพ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีหลักและมีหมายจับ ทุกอย่างจะดำเนินการตามปกติต่อไป
 “ส่วนเหตุการณ์ 6 เดือนข้างหน้านั้นต้องดูว่ากระบวนการก่อการร้ายและวินาศกรรมยังมีอยู่หรือไม่ แต่เชื่อว่าคดีที่เริ่มต้นแล้วและมีการจับกุมตรวจค้นพบอาวุธนั้นทำให้ทราบชัดเจนขึ้นว่า เครือข่ายการก่อการร้ายเกี่ยวกับใครบ้าง ก็น่าจะทำให้เจ้าหน้าที่สามารถทำงานในเรื่องนี้ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น” นายกฯ กล่าว
 เมื่อถามว่าหลักประกันกับผู้ชุมนุมหากมีการรับเงื่อนไขนี้จะเป็นเช่นใด นายกฯ กล่าวว่า หากรับเงื่อนไขจะมีวิธีบริหารยุติการชุมนุมคือดูแลความปลอดภัยของประชาชนที่เดินทางกลับ และเจ้าหน้าที่รัฐต้องตรวจสอบอาวุธเพื่อให้เกิดความปลอดภัยและมั่นใจของทุกฝ่าย เมื่อถามว่าเวลาที่จำกัดคือ 6 เดือน ข้อใดใน 5 ข้อจะสำเร็จก่อน นายกฯ กล่าวว่า แต่ละเรื่องไม่เหมือนกัน เช่น หากไล่จากเรื่องเฉพาะเช่นการสอบสวนหรือตรวจสอบข้อเท็จจริงในเหตุการณ์นั้น ตนคิดว่า 6 เดือนเพียงพอ ส่วนกติกาการเมืองเรื่องใดเร่งด่วนก็ทำก่อน ส่วนเรื่องไม่เร่งด่วนหากตกลงกันได้ ก็รอไว้หลังการเลือกตั้งได้ ส่วนกระบวนการสื่อและสถาบันพระมหากษัตริย์นั้นต้องทำงานต่อเนื่อง ส่วนการแก้ปัญหาโครงสร้างนั้นแน่นอนว่าไม่มีใครสามารถทำเสร็จได้ภายใน 6 เดือนแต่สิ่งที่จะสร้างขึ้นมาคือกลไกและกระบวนการที่จะทำเรื่องนี้ได้ต่อเนื่อง ซึ่งในวันที่12-13 พ.ค.จะมีการประชุมคณะกรรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งในชุมชนและได้ประสานภาคประชาสังคมมาทำข้อเสนอการปฏิรูปประเทศและสังคม ที่จะนำไปสู่การจัดสมัชชาในวันที่ 20 พ.ค. และข้อเสนอนี้จะเดินหน้าเป็นรูปธรรมในข้อเสนอย่อยๆเช่น ที่ดินทำกิน หนี้สิน โอกาสและความยากจน
 เมื่อถามว่า จะยกเลิกพ.ร.ก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ไปเร็วมากเพราะยังไม่ทราบว่าการชุมนุมจะยุติหรือไม่ ขอเรียนว่าพ.ร.ก.ฉบับนี้ต้องมีอีกระยะหนึ่ง เช่น การบริหารยุติการชุมนุมต้องมีการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่เพื่อดูแลความปลอดภัยทั้งบุคคลและสถานที่ ตรงนี้มีความจำเป็น รวมทั้งเรื่องกลไกของสื่อที่ต้องทำขึ้นมาเพื่อไม่ให้เกิดการปลุกระดมและปลุกปั่นได้ เมื่อถามว่าแสดงว่านายกฯจะใช้พ.ร.ก.ฉบับนี้ไปจนกว่าจะแน่ใจ นายกฯกล่าวว่า ต้องใช้ไป ขอเทียบเคียงให้เห็นเมื่อปีที่แล้วว่าเมื่อเหตุการณ์ยุติลง มีเวลาสองสัปดาห์ก่อนยกเลิกพ.ร.ก.ฉบับนี้ ขั้นตอนตรงนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์
 เมื่อถามว่า ข้อเสนอ 5 ข้อของนายกฯ ที่เสนอไปนั้น จะมั่นใจว่าท่าทีของนปช.จะเป็นเอกภาพหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า เรากำลังพูดถึงคนจำนวนมากและหลากหลาย ตนคิดว่ามันคงจะไม่ยากเกินไปที่จะรู้ว่าอะไรที่เป็นขบวนการและระบบหรืออะไรเป็นสิ่งที่อาจมีปัญหาควบคุมไม่ได้ แต่สิ่งหนึ่งในกระบวนการปรองดองที่ตนยืนยันว่าทุกข้อนั้น เช่น สื่อที่สร้างความแตกแยกหรือปัญหาการล่วงละเมิดสถาบัน มันไม่พอที่แต่ละฝ่ายจะบอกว่าตัวเองไม่เกี่ยว ทุกคนต้องมาช่วยกันทำว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นจะแก้ไขอย่างไร เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ที่มีพฤติกรรมเช่นนี้ชัดเจน มีชื่อของบุคคลว่าใครรับผิดชอบบ้าง ทุกฝ่ายและนปช.ต้องช่วยกันว่าสื่อนี้เกี่ยวข้องกับนปช.หรือไม่ เช่น เว็บไซต์นปช.ยูเอสเอ ตกลงแล้วเกี่ยวข้องกับนปช.หรือไม่ หากเกี่ยวข้องก็แสดงว่าไม่เข้าสู่กระบวนการปรองดองเพราะมีพฤติกรรมชัดเจน หากไม่เกี่ยวข้องก็ต้องร่วมมือกับเราในการจัดการ
 “ตรงนี้เป็นตัวอย่างที่ยกให้เห็นว่าต้องเข้าเงื่อนไขแบบนี้และคงไม่ใช่เรื่องที่บอกว่ามีปัญหาแล้วไม่เดินตามกระบวนการปรองดองแต่ไปบอกว่าไม่เกี่ยวและไม่รู้คงไม่ได้” นายกฯ กล่าว
 เมื่อถามว่า นายกฯมั่นใจหรือไม่ว่าการตัดสินใจของแกนนำนปช.จะเป็นอำนาจเด็ดขาด นายกฯ กล่าวว่า “เป็นระบบของฝ่ายนั้น ผมก้าวล่วงไม่ได้ ที่ผ่านมาการบริหารการชุมนุม แกนนำนปช.ต้องบริหารจัดการไป ผมขอเรียนว่า สังคมดูออกว่าอะไรเป็นอะไร”
 เมื่อถามว่า พรรคร่วมรัฐบาลเห็นด้วยกับข้อเสนอ 5 ข้อนี้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่มีปัญหา แผนที่เสนอก็เสนอในนามของรัฐบาล เมื่อถามว่า สิ่งใดที่ทำให้นายกฯยอมร่นเวลาการยุบสภาจาก 9 เดือนเหลือ 6 เดือน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ประเมินจากสถานการณ์และประเมินจากสิ่งที่จะต้องดำเนินการ คิดว่าเรื่องเศรษฐกิจได้อธิบายแล้ว เรื่องกติกาบางทีก็อยู่ที่ว่าถ้าไม่มีกรอบเวลาที่ชัดเจนก็จะไม่หาข้อยุติกัน ส่วนเรื่องความสงบถ้ามันสงบ 6 เดือนต่อเนื่องกันตนว่ามันก็นานกว่าทุกช่วงระยะเวลาในหลานปีที่ผ่านมา เมื่อถามว่า แกนนำนปช.เรียกร้องให้พรคร่วมรัฐบาลแถลงยืนยันร่วมกัน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่มีความจำเป็นเพราะอำนาจการยุบสภาไม่ได้เป็นของครม.แต่เป็นของนายกฯ ที่จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ
 เมื่อถามว่า นปช.ยื่นข้อเสนอว่าควรจะต้องเปิดสัญญาณพีทีวี สัญญาณอินเตอร์เน็ตและวิทยุชุมชนในเครือข่ายนปช.ทั้งหมด นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เมื่อกลไกที่มีดูแลเรื่องสื่อเรียบร้อยก็จะสามารถดำเนินการได้ตามข้อเสนอข้อที่ 3 เมื่อถามว่า แกนนำนปช.ที่ถูกหมายจับเจ้าหน้าที่สามารถจับกุมซึ่งหน้าได้ ถ้าแกนนำนปช.รับข้อเสนอตามแผนปรองดอง เมื่อกลับบ้านจะโดนล็อกตัวหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า “เขาก็ควรจะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ที่เขาสามารถจะได้รับจากกระบวนการยุติธรรมได้” เมื่อถามว่า เท่ากับว่าหากเจ้าหน้าที่เจอซึ่งหน้าก็จับกุมได้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนคิดว่าคงบริหารไม่ให้เกิดความวุ่นวาย แต่ทุกคนความรับผิดทางกฎหมายเป็นอย่างไรก็ยังเป็นเช่นนั้นสิทธิตามกกฎหมายมีเช่นไรก็ยังมีเช่นนั้น
 ผู้สื่อข่าวถามว่า การประกาศยุบสภาของนายกฯจะเกิดปัญหาข้าราชการเกียร์ว่างหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ หัวเราะก่อนกล่าวว่า ไม่มีใครรู้แน่นอน มันต้องบริหารทั้งสถานการณ์จากวันนี้ถึงเดือนพ.ย.และเลือกตั้ง ไม่มีปัญหา เพราะไม่มีรัฐบาลชุดไหนที่ไม่มีอายุไม่สิ้นสุดอยู่แล้ว เมื่อถามต่อว่า ทำไมนายกฯไม่อยู่จนครบวาระและจะตอบคำถามคนไม่อยากให้ยุบสภาได้อย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า กระบวนการปรองดองคงไม่มีใครที่จะได้ทุกสิ่งทุกอย่างตามใจชอบ และจริงๆก่อนที่จะมีการชุมนุมตนก็ส่งสัญญาณมาโดยตลอดว่า ตนเห็นว่าการยุบสภาอาจจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้แต่ต้องเป็นเวลาที่เหมาะสม ดังนั้นสิ่งนี้เป็นจุดยืนของตนมาโดยตลอด และเข้าใจเห็นใจคนที่อยากจะเห็นการที่รัฐบาลอยู่ครบวาระและตนได้ให้การยืนยันว่าการตัดสินใจของตนอยู่บนหลักการที่เคยพูดมาโดยตลอด ไม่ใช่เป็นเรื่องการไม่เสียหลักในเรื่องของนิติรัฐ และไม่มีการนิรโทษกรรมทางอาญาใครมีความผิดทางกฎหมายอย่างไรต้องดำเนินการ
 เมื่อถามว่า นายกฯมั่นใจหรือไม่ว่าแผนปรองดองจะเป็นคำตอบสุดท้ายในเรื่องอายุรัฐบาลจะอยู่อีก 6 เดือน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่มีอะไรแล้วในเรื่องการที่ต่อรอง ตนคิดว่าเป็นการนำเสนอที่ครบถ้วนในตัวของมันเอง ถ้าตอบรับก็รับถ้าไม่ตอบรับก็ไม่ตอบรับ ตนนึกไม่ออกว่าสังคมจะปล่อยให้เป็นเรื่องของการมาเจรจาต่อรองอะไรกันอีก เพราะคิดว่าสิ่งที่ตนพูดไปสดับรับฟังจากทุกฝ่ายแล้ว แม้กระทั่งคนซึ่งเกี่ยวข้องอยู่กับผู้ชุมนุมเองก็ยอมรับว่ามันเป็นแนวคิดที่สอดคล้องกับการแก้ปัญหาในภาพรวม ถ้าไม่ตอบรับก็ต้องดำเนินการบังคับใช้กฎหมาย
 เมื่อถามว่า ต้องมีการลงสัตยาบันกันหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่ต้องลงสัตยาบันเพราะการแถลงต่อสาธารณะมันผูกมัดทุกอย่างอยู่แล้วในตัว และตนได้อธิบายเงื่อนไขต่างๆอย่างชัดเจน ตอนนี้มันก็มีเรื่องรายละเอียดเท่านั้น เพราะแต่ละข้อต้องมีบุคคลและกลไกที่ต้องมารับผิดชอบ ต้องฟังและช่วยกันคิดเร่งจัดตั้งกันขึ้นมา
 เมื่อถามว่า นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ไม่เห็นด้วย และยืนยันว่าไม่เป็นมติพรรค นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ยอมรับว่าไม่ใช่มติพรรค แต่คิดว่าในหลักของการตัดสินและการบริหารสถานการณ์ตนได้ทำความเข้าใจกับสมาชิกพรรคในระดับหนึ่ง ส่วนความเห็นของนายชวนนั้น ตนยังไม่เห็นรายละเอียดการให้สัมภาษณ์ แต่เห็นที่สรุปออกมา 2 เรื่อง คือไม่เห็นด้วยว่ายุบสภาในลักษณะที่เป็น การจำนนต่อการกดดันซึ่งตนได้อธิบาย แล้วหลักยุบสภาที่ตนคิดว่าเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับที่ตนพูดมาก่อนหน้านี้ และไม่เห็นด้วยกับการนริโทษกรรมคดีอาญาซึ่งไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ ปรองดองอยู่แล้ว ดังนั้นตนไม่แน่ใจว่าในรายละเอียดนายชวนพูดว่าอย่างไร แต่นายชวนได้พูด 2 เรื่องนี้และตนเห็นว่าไม่ขัดอะไรกับสิ่งที่ตนตัดสินใจไป
 เมื่อถามว่า นายกฯมั่นใจหรือไม่ว่าการตัดสินใจบริหารตามแผนนี้พรรคประชาธิปัตย์จะยอมรับ การตัดสินใจของนายกฯ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนมั่นใจ แต่ในพรรคมีสิทธิ์แสดงความเห็นแต่เป็นเรื่องที่ตนมั่นใจ เพราะการพูดคุยรายงานสถานการณ์กับสมาชิกในพรรคทำอย่างต่อเนื่อง แต่เป็นเรื่องปกติว่าความคิดเห็นต่อสถานการณ์มีหลากหลาย ส.ส.ของพรรคก็รับความคิดเห็นจากกลุ่มคนที่หลากหลาย บางคนจะยังสับสนบ้าง บางคนอาจะเห็นด้วยไม่เห็นด้วยเป็นเรื่องปกติ และการประชุมพรรคประชาธิปัตย์ในวันที่ 6 พ.ค.นี้ตนจะไปประชุมและอธิบาย
 เมื่อถามย้ำว่า จะไม่นิรโทษกรรมให้เฉพาะคดีอาญา หมายความว่าแกนนำนปช.ก็จะไม่มีความผิดหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า "ทำไม ขณะนี้เขามีหมายจับอยู่ก็เดินต่อ กระบวนการเดินต่อ เพราะหมายจับที่ออกไปเป็นคดีอาญาทั้งสิ้น" เมื่อถามว่า ไม่ว่าเหตุการณ์จะจบลงอย่างไรแกนนำนปช.ทั้งหมดที่มีหมายจับหมายเรียกจะต้องถูกดำเนินคดี นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า “ต้องมีการดำเนินคดีตามปกติ สิทธิและหน้าที่ของเขาเป็นอย่างไรก็ยังเป็นอย่างนั้น และในกระบวนการเข้าไปแล้วจะต้องเข้าสู่ขั้นตอนที่จะต้องเป็นดุลยพินิจของศาล เราต้องเคารพการตัดสินของศาล ความหนักเบาจะมีการประกันศาลจะใช้ดุลยพินิจในการตัดสิน”
 ผู้สื่อข่าวถามว่า คณะกรรมการเลือกตั้ง(กกต.)อยากให้นายกฯสรุปให้ชัดเจนว่าจะยุบสภาวันใด นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า “ไม่เป็นไร เราอย่าไปทำให้เรื่องซับซ้อนไปอีก เอาว่าจริงๆแล้วเลือกตั้ง 14 พ.ย.”
 เมื่อถามว่า ในที่ประชุมครม.ได้มีการติดต่อกับแกนนำผู้ชุมนุมหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่มี พอดีประชุมครม.มีการตัดสัญญาณโทรศัทพ์ทุกคนอยู่แล้ว แต่หากมีการยุติการชุมนุมต้องมีการบริหารขั้นตอนพื่อประโยชน์เรื่องความปลอดภัยของผู้ชุมนุม ในครม.ตนได้มอบหมายให้ฝ่ายการเมืองโดยนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ส่วนฝ่ายข้าราชการประจำได้มอบให้พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ.ในฐานะหัวหน้าผู้รับผิดชอบ กรณีที่จะมีการยุติการชุมนุม 2 คนนี้ต้องเป็นผู้ประสานงานจัดการยุติการชุมนุม การออกจากที่ชุมนุมให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่มีปัญหาเรื่องความปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ตนก็หวังไม่ต่างจากประชาชนคนไทยทั่วไปว่า จะเป็นโอกาสที่จะออกจากวิกฤติอีกครั้งหนึ่ง วันนี้อาจมีโอกาสแล้วอาจจะผ่อนคลายลงบ้างแต่ไม่ทราบว่าท่าทีสุดท้ายของนปช .จะเป็นอย่างไร แต่คิดว่าสิ่งที่ตั้งเอาไว้ 6 เดือนทุกอย่างสงบเรียบร้อยจริงก็ได้กำชับไปแล้วว่าเป็นภารกิจสำคัญที่สุดของรัฐบาลในการแก้ปัญหาความแตกแยกทั้งหมดซึ่งต้องขอความร่วมมือจากประชาชนด้วย
 เมื่อถามว่า จะกลายเป็นความสุขชั่วคราวแล้วจะเป็นทุกข์หนักของประเทศในอนาคตหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อยู่ที่พวกเราทุกคนว่าในที่สุดจะเป็นเรื่องชั่วคราวหรือไม่ ตนมีหน้าที่จะไม่ให้เป็นอย่างนั้นและตนต้องรับผิดชอบการตัดสินของตน เมื่อถามอีกว่า ข้อเสนอที่ 5 เหมือนจะเป็นประโยชน์เฉพาะนักการเมืองไม่กี่คน จะตอบคำถามประชาชนที่ไม่ได้ทำผิดกฎหมายได้อย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนอธิบายแล้วว่าจริงๆตนจบแค่ 4 ข้อ มันก็เป็นคำตอบกับโจทย์ที่เกี่ยวข้องกับประชาชนในวงกว้างแต่คิดว่าวันนี้ เราไม่ยอมรับความจริงว่าความขัดแย้งอีกส่วนหนึ่งเป็นปัญหาของนักการเมืองกันเอง ถ้าเราไม่เผชิญตรงนั้นคำตอบมันก็ไม่ครบ ส่วนการดำเนินการตามข้อ 5 จะใช้วิธีการอย่างไร ตนกำลังเปิดทางเลือกอยู่ประมาณ 2 ทาง และกำลังตัดสินใจว่ากลไกดำเนินการเรื่องนี้เป็นอย่างไร แต่การหาข้อยุติแม้จะเกี่ยวข้องกับนักการเมืองโดยตรงก็ต้องมีคำตอบให้กับสังคม  เมื่อถามถึงกรณีที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ปรากฏตัวต่อสาธารณอีกครั้งในช่วงนี้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า อยากจะพิสูจน์ว่าไม่ได้เป็นไปตามข่าวลือ และคิดว่าเป็นการยืนยันว่าพ.ต.ท.ทักษิณก็เกี่ยวข้องกับกระบวนการต่างๆที่ เกิดขึ้นทั้งหมดอยู่ ยังมีการเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิด
ม็อบแดงเก็บข้าวของรอลุ้นระทึกแกนนำรับโรดแม็พ
 เมื่อเวลา 17.00 น. บรรยากาศการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เข้าสู่วันที่ 53 ตลอดช่วงบ่ายที่ผ่านมาภายหลังฝนตกหนักกระทั่งหยุดตก บนเวทีปราศรัยยังคงมีการขึ้นร้องเพลงจากแกนนำและผู้ร่วมชุมนุมตลอดเวลา ทั้งนี้ในช่วงเวลา 16.00 น. แกนนำหลัก อาทิ นายวีระ มุสิกพงษ์ นายจตุพร พรหมพันธ์ และนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ได้ร่วมประชุมหารือกัน โดยบนเวทีปราศรัยได้ระบุว่า ภายในเวลาประมาณ 18.00 น. ทางแกนนำจะชี้แจงแนวทางข้อเสนอปรองดองโรดแมป 5 ข้อของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรี รวมถึงการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 14 พ.ย.นี้ อย่างไรก็ตาม ตามเต๊นท์ของผู้ชุมนุมปรากฏว่า บางส่วนได้ทยอยเก็บของทำความสะอาดแล้วแม้ว่า ทางแกนนำจะยังไม่ได้ประกาศความชัดเจนก็ตาม
เมื่อเวลา 18.00น.นายวีระ มุสิกพงศ์ แกนนำนปช. และคณะได้ร่วมกันแถลงถึงว่า นปช.มีมติเอกฉันท์ยินดีที่จะเข้าสู่กระบวนการปรองดองของรัฐบาล  เพราะเป็นข้อเสนอเดิมของ นปช. เนื่องจากไม่ต้องการให้มีล้มตาย แต่ขอความชัดเจนเรื่องวันยุบสภา  นปช.จะไม่ขอนิรโทษกรรมให้ แกนนำ นปช.ในข้อหาล้มสถาบัน และก่อการร้าย พร้อมสู้คดี และขอให้โอนคดีให้ดีเอสไอดำเนินการ








ข่าวที่เกี่ยวข้องหุ้นปิดบวก33.35จุดซื้อขาย4หมื่นล้านรับโรดแม็พสมศักดิ์ชมอภิสิทธิ์ฉลาดคลอดโรดแม็พมาต่อรอง "ทักษิณ"ลั่นไม่เกี่ยวกับโรดแม็พแดงตัดสินใจเองทุกฝ่ายขานรับโรดแม็พเลือกตั้ง14พ.ย. แดงอุดร1พันเข้ากรุงเทพฯไม่สนโรดแม็พอภิสิทธิ์

NEWSblank ข่าวออนไลน์
เรียนภาษาอังกฤษ | หอพัก | ดาวน์โหลด | vol6

แดงรับแผนปรองดองขอชัดเจนวันยุบสภา

แดงรับแผนปรองดองขอชัดเจนวันยุบสภา



คมชัดลึก : มติแดง ยอมรับแผนปรองดองยื่นเงื่อนไข "อภิสิทธิ์" ขอความชัดเจนวันยุบสภา อ้างการกำหนดวันเลือกตั้งไม่ใช่เป็นอำนาจนายกฯ ปัดขอนิรโทษกรรมทุกกรณี มอบคดีพันม็อบให้ดีเอสไอรับเป็นคดีพิเศษทั้งหมด






 (4พ.ค.)  ที่แยกราชประสงค์  ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังการประชุมโดยใช้เวลากว่า 1 ชั่วโมงเมื่อเวลา 18.05 น. นายวีระ มุสิกพงศ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ(นปช.) เป็นตัวแทนประกาศผลการประชุมนปช.ว่า นปช.มีมติ 4 ข้อประกอบด้วย 1.นปช.มีมติเป็นเอกฉันท์ยินดีเข้าสู่กระบวนการปรองดอง โดยให้เห็นว่าเป็นข้อเสนอเดิมของนปช.เพื่อต้องการสงวนชีวิตทุกชีวิตมิให้มีการบาดเจ็บล้มตาย
 2. มีข้อสังเกตบางประการและต้องการความชัดเจนในการเข้าสู่กระบวนการเจรจา คือ 2.1 นปช.สงสัยว่าการกำหนดกรอบเวลาเลือกตั้งเป็นอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)มิใช่อำนาจของนายกรัฐมนตรี จึงขอความชัดเจนว่านายกฯน่าจะประกาศกรอบเวลาของการยุบสภา ซึ่งเป็นอำนาจของนายกฯ 2.2 นปช.ต้องการความจริงใจซึ่งรัฐบาลแสดงออกได้ด้วยการลดการคุกคามทุกรูปแบบในทันที
 3. นปช.ไม่ขอนิรโทษกรรมให้แก่นปช.เอง ในข้อหาโค่นล้มสถาบัน และการก่อการร้ายโดยเด็ดขาดพร้อมสู้คดี 4. ต้องยุติการนำสถาบันกษัตริย์ลงสู่ความขัดแย้งในทุกมิติ
แกนนำนปช.ลั่นปักหลักชุมนุมต่อจนกว่าได้ข้อสรุปวันเลือกตั้ง
 นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการนปช. กล่าวว่า เรื่องการนิรโทษกรรมนั้น เรามิได้กำหนดเป็นเงื่อนไข ที่ผ่านมารัฐบาลกล่าวหาว่าเราเป็นผู้ก่อการร้าย เป็นการโค่นล้มสถาบัน เราจะต่อสู้ถึงที่สุด และจะให้เกิดมาตรฐานเดียว โดยขอให้ในคดีสั่งการสังหารประชาชนในเหตุการณ์วันที่ 10 เม.ย. 22 เม.ย. และ 28 เม.ย. ก็ต้องไม่มีการนิรโทษกรรมใดๆเช่นเดียวกัน และเพื่อเกิดมาตรฐานเดียวกัน โดยขอให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ รับเอาทั้งสามเหตุการณ์เป็นคดีพิเศษ และดำเนินการโดยทันที หากมีการพิจารณาอนุมัติหมายจับนปช. ข้อหาก่อการร้าย ก็น่าจะมีการขออนุมัติออกหมายจับในการสั่งการทหารเข่นฆ่าประชาชนในวันที่ 10 เม.ย. เช่นเดียวกัน เรื่องนี้ก็ว่ากันไปตามข้อเท็จจริง
 นายณัฐวุฒิ กล่าวต่อว่า แม้เหตุการณ์นี้จะเป็นการเผชิญหน้าของสองกลุ่ม คือ คนเสื้อแดงกับรัฐบาล แต่ผลกระทบที่เกิดขึ้นกลับเป็นวงกว้าง เกี่ยวถึงความเป็นอยู่ความนึกคิดของประชาชน เมื่อเป็นดังนี้ปฏิบัติการใดๆที่เกิดจากกลไกรัฐย่อมมีผลต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในภาพรวม รัฐบาลต้องยุติการคุกคามสิทธิเสรีภาพของประชาชนในทุกด้านโดยทันที จนกว่าจะได้ข้อสรุปตรงกันประชาชนต้องมีสิทธิเสรีภาพในการเดินทาง การชุมนุมและการแสดงออก โดยสงบสันติภายใต้รัฐธรรมนูญ และต้องมีสิทธิในการบริโภคข่าวสาร ไม่ควรมีการริดรอน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เรื่องนี้เป็นประเด็นสำคัญที่จะพิสูจน์ความจริงใจของรัฐบาล เราจะปรองดองกันไม่ได้ถ้าไม่อยู่กันอย่างเท่าเทียม อีกฝ่ายถืออาวุธแต่อีกฝ่ายไม่มีเสรีภาพในการไปไหนมาไหน อีกฝ่ายเสนอข่าวตามอำเภอใจ แต่อีกฝ่ายไม่มีพื้นที่ในสื่อสารมวลชนของตัวเองในการจะพูด ความเท่าเทียม จากเสรีภาพที่เท่ากันจะเป็นรหัสสัญญาณในการเริ่มต้นที่ดี ในการหลีกเลี่ยงความรุนแรงในการสูญเสียใดๆ
 ขณะที่นายจตุพร พรหมพันธ์ กล่าวว่า นายอภิสิทธิ์ เสนอมาตรการปรองดอง ทุกคนมีสิทธิทำเช่นนี้ แต่ต้องไม่ใช่ใช้กำลังบังคับให้ปรองดอง นั่นคือการใช้อำนาจ คืนนี้ตนจะนำแผนผังรอบราชประสงค์ที่มีการตั้งกำลังทหารตำรวจ นี่หรือคือมาตรการปรองดอง
 นายจตุพร กล่าวว่า ขณะนี้คนในซีกรัฐบาลได้ให้ข่าวใส่ร้ายพวกตนว่าเหตุที่ต้องการปรองกองเพื่อแลกคดี ขอประกาศเลยว่าเราจะไม่แลกคดีความเพื่อปรองดอง ขอให้รัฐบาลเดินหน้าดำเนินคดี ทั้งคดีก่อการร้าย ที่เพิ่งขออนุมัติศาลออกหมายจับใหม่ ซึ่งคดีนี้พวกตนจะดำเนินคดีกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ และอธิบดีดีเอสไอในข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ขณะที่คดีหมิ่นสถาบัน ล้มสถาบัน เรื่องนี้ยิ่งเลวร้าย คดีนี้ไม่เกี่ยวกับพวกตน
 ขณะนี้มีคดีสองคดีอยู่ในมือของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ คือ คดีบุกยึดสุวรรณภูมิ และดอนเมือง เรื่องนี้ตำรวจตั้งข้อหาก่อการร้าย แต่ไม่กล้าสั่งฟ้อง ขอให้ดีเอสไอ รับเอาคดีนี้เป็นคดีพิเศษ และคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของนายสนธิ ลิ้มมทองกุล ที่เกิดขึ้นในกรรมเดียวกับดา ตอร์ปิโด แต่คดีก็นี้ไม่รุกคืบ จึงขอให้นำคดีนี้เข้าก็ให้เป็นคดีพิเศษเช่นเดียวกัน
 ขณะที่ น.พ.เหวง โตจิราการ กล่าวว่า นายอภิสิทธิ์ จริงใจที่จะปรองดองหรือไม่ เพราะยังโจมตี นปช. ไม่เว้นแต่ละวินาที ดังนั้นขอให้หยุดโจมตี นปช. โดยสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขบวนการล้มเจ้า หรือเรื่องการก่อการร้าย
 ภายหลังการแถลง นายจตุพร กล่าวว่า ตอนนี้ขอยืนยันจะใช้สิทธิชุมนุมต่อ เพื่อรอว่านายอภิสิทธ์จะประกาศวันยุบสภาเมื่อไหร่ ส่วนคนเสื้อแดงจะไม่เสนอว่ารัฐบาลต้องยุบสภาวันไหน แต่ขอให้ชัดเจนในเรื่องนี้ จากนั้นแกนนำจะหารือและดูรายละเอียดในข้อเสนอห้าข้อที่เสนอมา
 ผู้สื่อข่าวถามว่าขณะนี้ได้ส่งตัวแทนไปเจรจาหรือไม่ นายจตุพร กล่าวว่า ไม่ใช่ไม่เจรจา ไม่พูดคุยกัน แต่มีการส่งตัวแทนไปคุย ซึ่งตอนนี้ขอความชัดเจนเรื่องยุบสภาเสียก่อน
 ด้านนายณัฐวุฒิ กล่าวว่าคนเสื้อแดงจะเลิกการชุมนุมเมื่อได้ข้อยุติว่านายกฯจะยุบสภาวันไหน โดยขณะนี้เราจะปักหลักชุมนุม และไม่มีการเปลี่ยนแปลง เราจะรอกี่วันก็รอได้ และอยากให้รัฐบาลหารือกับพรรคร่วมละนายชวน หลีกภัย ด้วย เพื่อให้ได้ข้อยุติส่วนที่มีการประกาศว่าจะใช้กำลังสลายหากไม่ยุติการชุมนุมว่า ถ้ารัฐบาลเสนอมาตรการปรองดองแต่กลับใช้กำลังสลายการชุมนุมสังคมโลกก็ต้องพิจารณาแต่ในส่วนคนเสื้อแดงก็พร้อมอยู่แล้ว
"เพื่อแผ่นดิน"หนุนโรดแม็พลั่นพร้อมรับศึกเลือกตั้ง
 นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน และรมว.อุตสาหกรรม ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ขณะที่ปฏิบัติภารกิจในประเทศจีน ว่า จากโรดแม็ปของนายกฯที่จะให้มีการเลือกตั้งวันที่ 14 พ.ย.นั้น ตนยังไม่ได้ดูเนื้อหาว่ามีอะไรบ้าง แต่ถ้าข้อเสนอนี้มาจากนายกฯ ในส่วนตนก็ขอสนับสนุน เพราะหลักการนี้ถือว่าประเทศชาติได้ประโยชน์ นำไปสู่ความสมานฉันท์ ตรงกับหลักการของพรรค ส่วนการเลือกตั้ง ขณะนี้พรรคมีความพร้อม ซึ่งเหมือนกับนักรบ ออกศึกได้ทุกเมื่อ อย่างไรก็ตามเมื่อตนกลับมาจากปฏิบัติภารกิจในประเทศจีนในวันที่ 5 พ.ค.ตนจะเรียกสมาชิกพรรคมาประชุม เพื่อหารือกรณีโรดแม็ปของนายกฯต่อไป
อดีตกก.สมานฉันท์ถกนอกรอบแผนโรดแม็พ  ที่รัฐสภา อดีตคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ นำโดยนายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี อดีตประธานคณะกรรมการฯ นายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช นายวิทยา บุรณศิริ ประธานวิปฝ่ายค้านพรรคเพื่อไทย นายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา นายวิรัช รัตนเศรษฐ์ พรรครวมชาติพัฒนา พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ส.ว.สรรหา นายประกิจ พลเดช ตัวแทนพรรคภูมิใจไทย ได้นัดหารือกันนอกรอบ ขาดเพียงตัวแทนของพรรคประชาธิปัตย์ที่ไม่ได้เข้าร่วมประชุมด้วย
 นายดิเรก กล่าวว่า วันนี้ครบหนึ่งปีแล้วที่คณะกรรมการฯได้วางแนวทางในการปฏิบัติ และจากวันที่ได้เสนอแนะรัฐบาลก็เกิดเหตุซ้ำรอยขึ้นมาอีกจนได้ จากการหารือหลายฝ่ายเห็นตรงกันว่าเมื่อเสร็จภารกิจอดีตคณะกรรมการสมานฉันท์ฯไม่ควรอยู่เฉย ประกอบกับที่นายกรัฐมนตรีออกมากล่าวชัดเจนแล้วว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งวันที่ 14 พ.ย. ทำให้บรรยากาศผ่อนคลายขึ้น เหลือเพียงว่านายกฯจะประสานกับนปช.อย่างไร
 จากนั้นที่ประชุมได้เปิดโอกาสให้ทุกคนแสดงความเห็น โดยพล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวว่า เท่าที่ติดตามคิดว่าแผนโรดแม็ปของนายกฯไม่ง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์หลายคนยังไม่เคยรับทราบ ดังนั้นจึงต้องมีคนกลางเข้ามาช่วยว่าควรจะดำเนินการอย่างไรต่อไป เพราะแผนโรดแม็ปของนายกฯยังไม่มีความชัดเจนในทางปฏิบัติ และยังไม่ทราบว่าคดีความต่างๆจะจบลงอย่างไร ซึ่งที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นสอดคล้องว่าควรต้องผลักดันให้มีการตั้งคนกลางจากทุกภาคส่วนขึ้นมาทำงานในเรื่องดังกล่าวให้ได้ก่อนที่จะเดินหน้าในเรื่องต่างๆต่อไป
 ด้านนายเสนาะ กล่าวว่า ไม่ทราบว่าจะเอาอะไรมารับประกันว่าคนพูดนั้นมีสิทธิที่จะเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ต่อไป เพราะขณะนี้คดีของพรรคประชาธิปัตย์อยู่ในศาลรัฐธรรมนูญแล้ว จึงมองว่าการกระทำของนายกฯเป็นเพียงการหาเสียง และผูกขาดความจงรักภักดีไว้เฉพาะกลุ่มของ ท้ายที่สุดรัฐบาลก็ถือโอกาสเอาพ.ต.ท.ทักษิณมาหากินและดึงสถาบันลงมาเกี่ยวข้องอีก และสุดท้ายหากผลประโยชน์ไม่ลงตัวทุกอย่างไม่มีวันจบ
 ขณะที่ตัวแทนจากพรรคเพื่อไทยหลายคน อาทิ นายวิทยา สนับสนุนข้อเสนอของนายเสนาะ ที่เรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกการประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน และพ.ร.บ.ความมั่นคง ยกเลิกข้อกล่าวหาผู้ก่อการร้าย ล้มล้างสถาบันและเพิกถอนหมายจับแกนนำนปช.ก่อน อย่างไรก็ตามในที่สุดที่ประชุมอดีตคณะกรรมการสมานฉันท์มีมติมอบหมายให้มีตัวแทนเป็นคนกลางในการเจรจากับฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายนปช. เพื่อให้แผนโรดแม็ปเดินหน้าไปสู่การปฏิบัติ ดีกว่าจะปล่อยให้สองฝ่ายเจรจาผ่านสื่อมวลชนเท่านั้น โดยที่ประชุมมีมติมอบหมายให้นายดิเรก ถึงฝั่ง พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช นายตวง อันทะไชย นายนพนิธิ สุริยะ นายภาวิช ทองโรจน์ และนายประสงค์ศักดิ์ บุญเดช ทำหน้าที่ประสานกับทุกภาคส่วนให้เกิดการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม
เสื้อหลากสีโคราชยันแนวทางปรองดองไม่ทำให้ชาติสงบ
 เมื่อเวลา 17.30 นกลุ่มคนเสื้อหลากสีนครราชสีมา จำนวน 150 คน จากการนำของนายชุบ ไชยฤทธิชัย,นางสารภี บุญประตูชัยและนายสุพจน์ พิริยะเกียรติสกุล ได้รวมตัวกันที่บริเวณลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (ย่าโม) เขตเทศบาลนครนครราชสีมา เพื่อเรียกร้องให้ชาวโคราชออกมาร่วมกันปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ พร้อมกับเรียกร้องให้กลุ่ม นปช.ยุติการชุมนุมโดยสิ้นเชิง โดยนายสุพจน์ฯแกนนำกลุ่มคนเสื้อหลากสีนครราชสีมาระบุว่า ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอ 5 ข้อ ของนายกรัฐมนตรีที่จะเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาสร้างความปรองดองในชาติ โดยเฉพาะการแก้ไขรัฐธรรมนูญและยุบสภาจัดการเลือกตั้งใหม่ไม่สามารถทำให้ชาติสงบได้ รัฐบาลควรจะบังคับใช้กฏหมายจัดการกับกลุ่มนปช.และผู้ก่อการร้ายขั้นเด็ดขาดไม่ควรปล่อยให้สถานการณ์บานปลายจนเลยเถิดมาจนทุกวันนี้ สาเหตุเพราะนายกฯไม่กล้าตัดสินใจทำให้กลุ่มคนเสื้อแดงที่ทำผิดกฏหมายลอยนวลอยู่จนปัจจุบัน นายสุพจน์ฯกล่าว
 นายชุบ  ไชยฤทธิชัย  แกนนำกลุ่มคนเสื้อหลากสีโคราช กล่าวว่า ส่วนตัวถือว่าเป็นแนวทางที่ดีในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นแจะต้องดูในรายละเอียดอีกครั้งว่าจะมีวิธีการอย่างไรเเละกลุ่ม นปช.จะยอมรับได้หรือไม่ โดยเฉพาะประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการนริโทษกรรมให้นักการเมืองที่กระทำผิดซึ่งกลุ่มคนเสื้อเหลืองได้คัดค้านเรื่องนี้มาโดยตลอดก็คงยอมไม่ได้ ฉะนั้นนายกฯจะต้องเสนอแนวทางที่ชัดเจนมากกว่านี้ว่าจะใช้วิธีการอย่างไร นายชุบฯกล่าว
 ต่อมาเมื่อเวลา 18.00 น. กลุ่มคนเสื้อหลากสีโคราชได้ร่วมกันร้องเพลงชาติไทยและเพลงปลุกใจให้คนไทยรักชาติจากนั้นก็สลายยตัวไปท่ามกลางตำรวจจาก สภ.เมืองนครราชสีมา โดยการนำของ พ.ต.อ.ผดุงเกียรติ ศิริพรวิวัฒน์ ผกก.สภ.เมืองนครราชสีมา จำนวนกว่า 100 นาย นำเเผงเหล็กมากั้นระหว่างกลุ่มคนเสื้อหลากสีโคราชกับกลุ่มคนเสื้อแดงนครราชสีมาที่ปักหลักชุมนุมอยู่ที่ลานย่าโมอีกฝั่งหนึ่ง แต่เหตุการณ์ก็ผ่านพ้นไปได้ด้วยดีโดยไม่มีการปะทะกันเกิดขึ้นแต่อย่างใด
พท.ชี้โรดแม็พไม่ชัดเจนรอดูท่าทีปชป.พรรคร่วม
 เมื่อเวลา 16.00 น. นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมส.ส. ว่า พรรคได้พิจารณาถึงแผนสร้างความปรองดองของนายอภิสิทธิ์ เนั้น โดยเห็นว่านายกฯต้องแสดงความจริงใจด้วยการยกเลิกพรก.ฉุกเฉิน และถอนทหารกลับกรมกองให้หมด รวมถึงการปิดกั้นสื่อมวลชนและใช้สื่อ ซึ่งขณะนี้นายกฯไปทาง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ นายชวน หลีกภัยประธานที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ก็ไปอีกทาง อยากให้นายกฯไปดำเนินการถ้านายกฯมีอำนาจจริง และจริงใจแก้ปัญหาความปรองดอง ขอให้มีคำสั่งวันนี้ให้มีการยกเลิกพรก.ฉุกเฉินโดยทันทีหากไม่ดำเนินการ เพราะถ้านายสุเทพใช้กม.พิเศษเป็นเครื่องมือความสมานฉันท์ก็ไม่เกิด เพราะไม่เช่นนั้นก็แค่เพียงการยื้อเวลายึดอายุรัฐบาลเท่านั้น
 
 








ข่าวที่เกี่ยวข้องสมศักดิ์ชมอภิสิทธิ์ฉลาดคลอดโรดแม็พมาต่อรอง "สวนกระแสแดง!!"พลังศรัทธาในเดือนแดงเดือดศาลให้DSIใช้หมายจับ9 แกนนำนปช.ตามพรก.ฉุกเฉิน"ทักษิณ"ลั่นไม่เกี่ยวกับโรดแม็พแดงตัดสินใจเองหมอพรทิพย์ยังไม่สรุปเป้ายิงอาร์พีจีวัดพระแก้วหรือกห.

NEWSblank ข่าวออนไลน์
เรียนภาษาอังกฤษ | หอพัก | ดาวน์โหลด | vol6

เสื้อหลากสีไม่เอาแผนปรองดอง เชื่อสำเร็จยาก

เสื้อหลากสีไม่เอาแผนปรองดอง เชื่อสำเร็จยาก

นพ.ตุลย์ อ้างมติคนเสื้อหลากสี ไม่เห็นด้วยแผนปรองดอง 5 ข้อของนายกฯ เชื่อระยะสั้นเป็นไปได้ยากที่จะทำสำเร็จ เหมือนซุกขยะใต้พรม เลือกตั้งใหม่ก็จะมีปัญหาเหมือนเดิม...4 พ.ค. ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ กลุ่มเครือข่ายพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดินนับพันคน มาร่วมชุมนุมกันเหมือนเช่นทุกวัน โดยมี นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ ผู้ประสานงานกลุ่มเป็นแกนนำ กล่าวปราศรัยโจมตีกลุ่มคนเสื้อแดง พร้อมทั้งกล่าวถึงการแถลงข่าวโรดแม็ปปรองดอง 5 ข้อ ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เมื่อช่วงดึกที่ผ่านมา ซึ่งส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจของนายอภิสิทธิ์ กับการยุบสภาในเดือนพ.ย.นี้นพ.ตุลย์ กล่าวว่า แผนปรองดอง 5 ข้อ ที่นายอภิสิทธิ์เสนอต่อคนเสื้อแดงนั้นในความคิดเห็นส่วนตัว เห็นว่าสมควรทำและเป็นเรื่องที่ดี แต่สมควรทำมานานแล้ว ไม่ใช่เพิ่งจะมาทำ และทำในระยะเวลาสั้นๆ ซึ่งมันเป็นไปได้ยากที่จะทำได้สำเร็จ ถ้าทำในระยะสั้นๆ ก็เหมือนกับปัดฝุ่นไว้ใต้พรม ยกตัวอย่างกฎหมายการยุบพรรค ปัญหานี้ยังคงมีต่อไปแม้ว่าจะมีการยุบสภาและเลือกตั้งใหม่ เพราะไม่มีใครคิดแก้กฎหมายการเลือกตั้งให้มีความรุนแรงมากขึ้น นักการเมืองคนไหนที่โกงการเลือกตั้ง ต้องมีบทลงโทษที่หนักกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ถ้าไม่คิดแก้ตรงนี้ เมื่อมีการเลือกตั้งครั้งใหม่ ปัญหาการโกงการเลือกตั้งก็คงมีเหมือนเดิม คดีการยุบพรรคก็มีเหมือนเก่าส่วนกรณีของกลุ่มพันธมิตรที่มีกระแสข่าวออกมาว่า ไม่พอใจเกี่ยวกับแผนปรองดองของนายอภิสิทธิ์นั้น คิดว่ากลุ่มพันธมิตรฯคงต้องทราบในรายละเอียดของเนื้อหามากกว่า และเชื่อว่าคงจะทำไม่ได้ภายในระยะเวลา 5-6 เดือน อย่าลืมว่ารัฐบาลอยู่มา 1 ปี 4 เดือน ยังแก้ปัญหาไม่ได้ อีกแค่ 6 เดือนจะทำได้อย่างไร ส่วนนายอภิสิทธิ์เอง ที่ออกมาแถลงการณ์เช่นนั้น คิดว่าคงมีความคิดเห็นเดียวกับพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. ที่ไม่ต้องการให้เกิดความรุนแรงจนมีผู้เสียชีวิตขึ้นอีกอย่างไรก็ตาม ช่วงท้ายของการชุมนุม นพ.ตุลย์ได้ขอประชามติจากผู้ชุมนุมว่า เห็นด้วยหรือไม่กับแผนปรองดองของนายกรัฐมนตรีทั้ง 5ข้อ ผลปรากฏว่ากลุ่มผู้ชมนุมไม่เห็นด้วย และตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. เป็นต้นไป ไม่อยากได้ยินเสียงวิทยุชุมชน และเว็บไซต์หมิ่นสถาบันอีกต่อไป ขอฝากนายอภิสิทธิ์ดำเนินการเรื่องนี้อย่างเร่งด่วนด้วย

NEWSblank ข่าวออนไลน์
เรียนภาษาอังกฤษ | หอพัก | ดาวน์โหลด | vol6

Blog Archive