Thursday, March 18, 2010

นายกฯพร้อมคุย เสื้อแดง หากอยู่ในกรอบ

นายกฯพร้อมคุย เสื้อแดง หากอยู่ในกรอบ

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรี ร้อง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ถูกเสื้อแดงสาดเลือดใส่บ้านพัก พร้อมแถลงข่าวร่วมกันที่ ราบ 11 ยืนยัน ยินดีเจรจากลุ่มเสื้อแดง หากการชุมนุมอยู่ในกรอบกฎหมาย...เมื่อเวลาประมาณ 12.30 น. วันที่ 18 มี.ค. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้แถลงร่วมกับคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ที่กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ว่า เราพยายามทุกวิถีทางในการที่จะแสดงออกถึงความยืดหยุ่นและอดทนอดกลั้น แต่จะละเลยทั้งหมด คงไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น การขว้างปา ตามปกติของกฎหมายเป็นต้น เรื่องการปิดล้อม สถานที่ต่างๆ ในส่วนของการปิดล้อมขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของราชการ หรือรัฐบาลโดยรวม ที่จริงแล้วมีคำวินิจฉัยของศาลปกครองการอยู่แล้ว อยากจะยำ้ว่าการกระทำในลักษณะดังกล่าวไม่ถือเป็นการใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญตามคำวินิจฉัยของศาล แต่ว่า ประเด็นเพิ่มเติมที่เกิดขึ้นกับตน คือ บ้านพักอาศัยส่วนตัว อันนี้ขอเรียนว่า ขอใช้สิทธิในฐานะ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในการร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนด้วย แต่ว่าที่สำคัญคือ สถานที่ที่เป็นของส่วนบุคคล หรือ เอกชนทั้งหมด ต้องได้รับการคุ้มครองสิทธิเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นได้ร้องขอให้กรรมการสิทธิได้ช่วยพิจารณาในประเด็นนี้ด้วย เพราะว่าอยากจะเรียนว่าหลายคนก็ได้ถ่ายทอดความรู้สึกมาที่ตน แต่ไม่มีใครรู้สึกเท่ากับคนท่ีอาศัยอยู่ในบ้านหรือคนที่เป็นเจ้าของบ้าน ซึ่งเข้าใจดี มีทั้งที่โกรธเคือง มีทั้งที่แสดงความเห็นใจอะไรต่างๆ เข้ามา ตนไม่เอาเรื่องความรู้สึกมาเป็นหลัก แต่อยากจะให้เคารพสิทธิของกันและกันมากกว่า คิดว่าถ้าลองพิจารณากลับไปว่า ถ้าเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับใครจะรู้สึกอย่างไร และการแสดงออกกับบุคคลอื่นในลักษณะเช่นนี้คงเป็นเรื่องยากถ้าจะตอบว่าเป็นเรื่องของสันติ หรือการเคลื่อนไหวตามสิทธิโดยปกติ เพราะฉะนั้นวันนี้ ขอขอบคุณที่คณะกรรมการสิทธิฯ ได้แสดงความเข้าใจในเรื่องนี้ นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า ประเด็นถัดมา คือว่า ในการชุมนุมนั้นทราบดีว่า การปลุกเร้าอารมณ์ เพื่อดึงผู้ชุมนุมให้อยู่ในอารมณ์ร่วมความสนใจ ที่จะต่อสู้เพื่อเป้าหมายร่วมกันเป็นธรรมชาติแม้ตนจะไม่สนับสนุน แต่ถ้าจะด่าทอด้วยคำพูดที่หยาบคายหรืออะไร พอเข้าใจได้ และมีความยืดหยุ่นในการรับกับสิ่งเหล่านี้พอสมควร แต่สิ่งที่สำคัญกว่า คำหยาบคายก็คือถ้อยคำที่ไม่อาจตีความเป็นอย่างอื่นได้ นอกจากการข่มขู่คุกคามหรือการยั่วยุให้เกิดความรุนแรง อันนี้แม้จะใช้คำสุภาพ คงจะไม่เหมาะสมและไม่เอื้อที่จะทำให้การเคลื่อนไหวต่างๆ อยู่ในความสันติหรือความสงบได้ ยกตัวอย่าง เช่น คำพูดที่บอกว่าดีที่นายอภิสิทธิ์ไม่อยู่ในบ้านถ้าอยู่ในบ้าน จะเอาเลือดจากศีรษะนายอภิสิทธิ์มาล้างเท้า จะเป็นชื่อใครก็ตามไม่อาจตีความได้เลยครับว่าเป็นการชุมนุมโดยสงบโดยสันติ อันนี้ เป็นตัวอย่างที่ในส่วนของผู้เสียหายคงสามารถใช้สิทธิตามกฎหมายกันไป แต่ว่าเป็นส่วนสำคัญของกติกาที่จะให้การชุมนุมนั้นอยู่ในกรอบถ้าหากว่าทุกฝ่ายเคารพและชุมนุมกันอยู่ในกรอบโดยที่มีแกนนำกลุ่มหนึ่ง ถ้าเข้าในไม่ผิดก็คือ นายวีระ มุสิกพงศ์ นายแพทย์เหวง โตจิราการ นายจรัญ ดิษฐาอภิชัย ได้ยื่นข้อเสนอ ซึ่งกรรมการสิทธิฯ ได้มาถ่ายทอดในวันนี้เกี่ยวกับเรื่องของการเจรจาที่ไม่ใช่การประสานงานที่ นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการนายกรัฐมนตรีทำอยู่ ผมได้ให้คำตอบว่าถ้าการเคลื่อนไหวชุมนุมอยู่ในกติกาที่พูดมาทั้งหมดนี้ รัฐบาลไม่ขัดข้องถ้าจะมีการพูดคุย เพราะว่าประเด็นทางการเมืองการจะหาทางออกทางการเมือง รัฐบาล ก็ยอมรับกระบวนการของการมีส่วนร่วมก็ต้องรับฟังทุกฝ่ายอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นก็ได้แจ้งท่านประธาน และ คณะกรรมการสิทธิฯสามารถที่จะนำคำตอบนี้ไปพูดคุยกับผู้ชุนนุมได้ แต่ว่าในช้ันนี้อย่าคาดคั้นว่ารูปแบบของการพูดคุยว่าจะต้องเป็นใครโดยใครอย่างไร เพื่อประโยชน์ในการที่จะทำให้กระบวนการเกิดขึ้นได้ ถ้าเราคาดคั้นในเรื่องรายละเอียดกันมากเกินไปในขณะนี้ก็จะเป็นปัญหาสำหรับคนทำงาน ผมมีความจริงใจในการที่จะให้มีการแลกเปลี่ยนกันด้วยเหตุด้วยผล แต่บนเงื่อนไขของการชุมนุมที่อยู่ภายใต้กติกา แต่ถ้าเป็นการชุมนุม ซึ่งนอกจากกติกาแล้ว ผมไม่อาจที่จะเข้าสู่กระบวนการที่จะพูดคุยได้ เพราะผมไม่อาจที่จะทำให้สังคมต้องอยู่ภายใต้หรือเดินตามการข่มขู่คุกคาม แต่ว่าถ้าสังคมเห็นว่าการมาของพี่น้องจำนวนมากที่อยู่บนแนวของสันติรัฐบาลก็มีหน้าที่รับฟัง เพราะผมก็เคยพูดอย่างนี้สมัยที่เป็นฝ่ายค้านวันนี้มาเป็นรัฐบาลก็ยืนยันแนวคิดเดิม และก็พร้อมที่จะปฏิบัติ อันนี้ก็เป็นส่ิงที่ผมเรียนให้คณะกรรมการสิทธิฯได้ทราบและคาดว่าคณะกรรมการสิทธิฯก็คงจะสื่อสารอันนี้ไปถึงผู้ชุมนุมต่อไปหลังจากนั้น ผู้สื่อข่าวได้สอบถามว่า  ในส่วนของรูปแบบการเจรจาจะเกิดขึ้นได้ในระยะเวลาใด และ ถ้าพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ไม่มีส่วนร่วมในการเจรจาแล้ว สามารถที่จะหาข้อยุติร่วมกันได้หรือไม่ ศาสตราจารย์อมรา พงศาพิชญ์  ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  กล่าวว่า การเจรจาเหมือนจะเริ่มแล้ว การเจรจาเป็นกระบวนการที่ใช้เวลาหลายขั้นตอน สุดท้ายแล้ว พ.ต.ท.ทักษิณ  ควรจะเข้าร่วมการเจรจานี้ด้วย

NEWSblank ข่าวออนไลน์
เรียนภาษาอังกฤษ | หอพัก | ดาวน์โหลด | vol6

No comments:

Post a Comment

Blog Archive