Sunday, May 2, 2010

บทบาทสื่อท่ามกลางวิกฤติขัดแย้ง ยังก้าวไม่พ้น ทุน-อำนาจ

บทบาทสื่อท่ามกลางวิกฤติขัดแย้ง ยังก้าวไม่พ้น ทุน-อำนาจ

สื่อ: ความขัดแย้ง: บทบาทเป็นทั้งตัวนำและตัวทำลาย สื่อมืออาชีพ-สื่อสันติภาพ ที่สังคมถามหาบทบาท และ ความรับผิด ชอบของสื่อสารมวลชนท่ามกลางวิกฤติความขัดแย้งรุนแรงของสังคมไทยขณะนี้ ถูกตั้งคำถามมากมายพร้อมๆไปกับการตั้งความหวังว่าจะเป็นหน่วยที่สร้างความ เข้าใจอันดีของคนในประเทศ เพราะเหตุว่าเป็นองค์กรที่มีฐานะเป็นคนกลางในการรับส่งข้อมูล ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจของการสื่อ การรับรู้ การตัดสินใจ กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนั้นสื่อไทยซึ่งมีอยู่หลายแขนง หลายสำนัก หลายรูปแบบ สื่อกระแสหลัก หรือ สื่อเกิดใหม่ภายใต้ยุคสังคมโลกไร้พรหมแดน กำลังดำเนินการอะไร ยืนอยู่ตรงจุดไหนบ้าง เข้าใจในบทบาทของตัวเอง รับผิดชอบต่อสิ่งที่กระทำมากน้อยแค่ไหน และ ควรปฏิบัติอย่างไรในท่ามกลางวิกฤติสังคมขณะนี้    
รศ.ดร.พิรงรอง รามสูต รณะนันท์ หัวหน้าภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิเคราะห์กับ ไทยรัฐออนไลน์ ว่า การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนไทยท่ามกลางวิกฤติความขัดแย้งปัจจุบันนี้ แยกเป็นสองกรณี คือ สื่อกระแสหลักดั้งเดิมไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ ทีวี วิทยุ ที่เป็นนักวิชาชีพดั้งเดิม ยังถือว่าใช้ได้ ภาพรวมยังมีความพยายามที่จะเติมเชื้อให้กับความขัดแย้ง แต่บางครั้งก็มีบ้างที่ยังหลุด ยังมีความเป็นจ้าของ การฝักใฝ่ทางการเมือง กลายพันธุ์ออกไป ยังเป็นการเติมเชื้อให้กับความรุนแรง ส่วนสื่อกระอีกประเภทหนึ่งก็คือสื่อกระแสรองที่เกิดขึ้นมาใหม่ภายหลังยุค ปฏิรูปสื่อ เช่น วิทยุชุมนุม เคเบิ้ลทีวี ทีวีดาวเทียม ซึ่งหลายสถานียังไม่มีความเป็นมืออาชีพ มีผู้ปประกอบการรายย่อย รวมถึงตลอดบุคคลเข้ามานำเสนอ ทำให้มิติในแง่จรรยาบรรณ  ความรับผิดชอบ ค่อนข้างที่จะตำ่กว่า เนื่องจากวัตถุประสงค์ก็เพื่อเป็นเครื่องมือทางการเมือง ทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไป ไม่สามารถก้าวพ้นวิกฤติสังคมไปได้ท่ามกลางที่มีความขัดแย้ง หรือ สถานการณที่มีความอ่อนไหวสูง สื่อต้องทำหน้าที่เป็นสื่อสันติภาพ ต้องให้ความสำคัญกับการไม่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย ไม่มีการประณาม หรือ ใช้ภาษาที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทางความคิดหรือพฤติกรรม ไม่มองเรื่องแพ้ชนะเป็นหลัก สื่อที่มองถึงประโยชน์สาธารณะ มองความสุขกลับคืนมา ต้องไม่เสนอการแพ้ ชนะ หรือรายงานความสูญเสีย แต่จะต้องนำเสนอทางออกของวิกฤตินั้นๆ สื่อต้องร่วมรับผิดชอบ เพราะเป็นหน่วยที่สำคัญมากๆของสังคม อย่าทำตัวเป็นแค่กระจก จริงๆแล้วจรรยาบรรณที่เขียนไว้ครบถ้วนแล้ว ถ้าสื่อทำได้ตามนั้นจะดี แต่ยังมีหลายสื่อที่ไม่ปฏิบัติตามแถมยังทำหน้าที่โดยตรงในการยั่วยุให้เกิด ความรุนแรง
รศ.ดร.วิลาสินี อดุลยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักรณรงค์และสื่อสารสาธารณะเพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนท่ามกลางความขัดแย้งขณะนี้นั้นยังไม่แข็งแรงพอ ทำให้สังคมไทยตกอยู่ในสภาพสังคมแห่งความเห็นและอารมณ์  สื่อไทยยังติดอยู่ภายใต้การครอบงำ ยังทำงานอยู่ภายใต้รูปแบบ วิธีคิด หรือ มายาคติ ของทุน อำนาจรัฐ สื่อมวลชนต้องมีจุดยืนที่ชัดเจนและหนักแน่น ไม่ตกเป็นเครื่องมือของฝ่ายใดๆ ต้องอดทนในการทำหน้าที่ นำความจริงในหลายๆ มุมมาเสนอให้ครบ ต้องเปิดพื้นที่สาธารณะ ต้องไม่เป็นเป็นเวทีของสีใด ท่ามกลางวิกฤติเวลานี้ บ้านเมืองต้องการสื่อที่มีเป็นมืออาชีพอย่างมาก 

สื่อต้องทำหน้าและบทบาทในการสร้างสังคม เพราะสื่อสามารถที่นำหรือกำหนดทิศทางของสังคมได้ ซึ่งไม่ใช่เพียงบทบาทกระจกที่สะท้อนเท่านั้น ไม่ใช่ว่าสังคมจะบูดเบี้ยวอย่างไรก็สังคมอย่างนั้น และไม่ใช่แค่ตะเกียงที่คอยส่องทางให้คนเดินขณะเดียวสังคมต้องใช้สื่อเพื่อสนองตอบทิศทางหรืออุดมการณ์ของสังคม ผู้บริโภคเองก็อย่าตกเป็นเหยื่อ ต้องเข้าใจว่าตนเองมีพลังในการที่จะเปลี่ยนสื่อได้ ต้องมีจรรยาบรรณของผู้บริโภคด้วย จะทำให้เกิดวัฒนธรรมการบริโภคสื่ออย่างเท่าทัน ส่วนสื่อมวลชนเองต้องพร้อมที่ปรับเปิดพื้นที่ให้กับสังคมมากขึ้น ต้องไม่รู้สึกว่า ตัวเองเป็นผู้ทรงอิทธิพล หรือมีอำนาจในการที่จะนำเสนออะไรก็ได้ ซึ่งเชื่อว่าเรื่องนี้จริยธรรมวิชาชีพต้องแข็งแรงจริงๆ จึงจะอยู่ได้
นายธาม เชื้อสถาปนศิริ ผู้จัดการกลุ่มงานวิชาการ  โครงการ ศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม(มีเดีย มอนิเตอร์) กล่าวว่า  จากศึกษาพบว่าสื่อโดยเฉพาะ สื่อโทรทัศน์ฟรีทีวีของไทยนั้น ยังเน้นการรายงานข่าวเฉพาะบรรยากาศของการชุมนุม  การเตรียมความพร้อมจากรัฐบาล และความคืบหน้าประเด็นทางการเมือง แต่ก็มีบางช่องซึ่งส่วนใหญ่เป็นช่องทีวีหลักและเคเบิ้ลทีวี จะมีรายการพิเศษเกาะติดสถานการณ์ เน้นประเด็นเสนอทางออกความขัดแย้ง และการวิเคราะห์ปัญหา อย่างไรก็ตามการนำเสนอของสื่อสารมวลชนท่ามกลางความขัดแย้งนั้น  ควรให้ความสำคัญกับการรายงานข่าวในสัดส่วนที่เหมาะสมกับ เหตุการณ์ ลดการให้ความสำคัญกับแหล่งข่าว ที่เป็นผู้ขัดแย้ง เพิ่มน้ำหนักความสมดุล และความหลากหลายของข่าว จากกลุ่มอื่นของสังคม เช่น กลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความขัดแย้ง กลุ่มพลังเงียบ ประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้เข้าร่วมชุมนุม หรือนักวิชาการอิสระที่แท้จริง และควรแสดงความเป็นกลาง ไม่นำเสนอภาพความรุนแรง ภาษาพูดที่มีลักษณะซ้ำไปซ้ำมา ควรเน้นรายงานข่าวเชิงลึก เชิงวิเคราะห์ และในการนำเสนอภาพจากแฟ้มภาพ ควรจะต้องระบุวัน เวลา สถานที่ เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดต่อสถานการณ์ และควรตรวจสอบข้อเท็จจริง ก่อนนำเสนอ ควรรายงานข่าวเชิงสันติภาพผศ.สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ อาจารย์ประจำสาขานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กล่าวว่า สังเกตได้ว่าการรายงานข่าวของสื่อโทรทัศน์นั้น เป็นการรายงานข่าวจากสิ่งที่เห็นด้วยตา ไม่มีการอ้างอิงแหล่งข่าว และ ขาดการตรวจสอบข้อเท็จจริง รายงานภาพเหตุการณ์ซ้ำๆ ซึ่งเป็นชนวนนำไปสู่การเผชิญหน้ามากขึ้น  คนที่ดูรายการมีหลายกลุ่ม อาจทำให้บางกลุ่มเกิดความคับแค้นใจ สังคมจึงหาทางออกไม่ได้ ไม่มีความหวัง และไม่สามารถแสวงหาการยุติความขัดแย้งได้  อีกทั้งการทำงานในระดับกองบรรณาธิการมีการแข่งขันกันในแง่ของความเร็ว การเข้าถึงสถานการณ์ และจะนำไปสู่การแย่งกันเพื่อรายงาน แต่แสดงออกมาในลักษณะที่ฉาบฉวย เสี่ยงต่อการถูกตั้งคำถามในแง่ของหลักการทำงานที่ถูกต้องของหลักวิชาชีพ และ จรรยาบรรณของสื่อ อย่างไรก็ตามแม้การรายงานข่าวที่มีแหล่งข่าวมาให้ข้อมูลก็ตาม สื่อมวลชนจะต้องตรวจสอบข้อเท็จจริง เพราะบางครั้งแหล่งข่าวอาจให้ข้อมูลเพื่อเป็นการป้ายสีฝ่ายตรงข้าม
นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า  สื่อไทยหลายแขนง หลายสำนักเผชิญกับปัญหาเรื่องทุน ไม่ว่าจะเป็นสื่อสาธารณะ สื่อธุรกิจ สถานีวิทยุชุมชนหลายแห่งเป็นปากกระบอกเสียงให้กับนักธุรกิจ นักการเมือง เป็นเครื่องมือของมีอำนาจ หรือ ผู้แสวงหาอำนาจ สุดท้ายสื่อเองกลายเป็นตัวทำให้เกิดความแตกแยก 

สื่อเป็นตัวชี้นำ และ เป็นตัวทำลาย พร้อมๆกัน ต้องตระหนักให้ได้ว่าสื่อเป็นส่วนหนึ่งของประชาสังคม ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมการเมือง ฉะนั้น/ท่ามกลางวิกฤติความขัดแย้งนั้น สื่อมีหน้าที่และบทบาทที่สำคัญไม่ได้เป็นเพียงการรายงานข่าวเหตุการณ์ เท่านั้น ต้องรายงานสถานการณ์ในภาพรวมอย่างครบถ้วน รอบด้าน เที่ยงตรง การรายงานข่าว ที่สำคัญที่สุดต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ทุกคน ต้องรายงานเชิงลึกและช่วยกันถกหาแนวทางออกของวิกฤตินั้นๆด้วย
จรรยาบรรณสื่อสารมวลชนสากล  23 ข้อ ประกอบด้วย 1. ต้องกระทำตนให้อยู่ในขอบเขตของความเหมาะสมมีกริยาดี (The bounds of decency)2. ไม่สร้างข่าวขึ้นเอง (Do not attempt to make news)3. ต้องเสนอข้อเท็จจริงทั้งหมดแก่ผู้รับสาร (The truth and the whole truth)4. ไม่ก้าวก่ายสิทธิส่วนตัวของบุคคลอื่น (Do not to invade the private rights)5. ไม่บังคับบุคคลให้พูด (Do not to force individuals to speak)6. ซื่อสัตย์ต่อบุคคลที่ต่อสู้เพื่อสังคม (Play fair with a person against whom derogatory charges)7. ซื่อสัตย์ต่อบุคคลที่นำมากล่าวถึงในคอลัมน์ (Play fair with persons quoted in its columns)8. รักษาไว้ซึ่งความลับของแหล่งข่าว (Keep the confidence of its news sources)9. ไม่ปิดบังอำพรางข่าวที่นำเสนอ (Do not suppress news)10. ไม่ควรขายข่าว ขายคอลัมน์เพื่อเงิน หรือความพอใจส่วนตัว (Do not sell its news colums for money or courtesies)11. ละเว้นจากการเข้าร่วมพรรคการเมือง (Refrain from allowing party politics)12. ต้องบริการคนส่วนรวม มิใช่บริการคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง (Serve the whole society, not just one class)13. ช่วยต่อสู้และปราบปรามอาชญากร (Fight and discourage crime)14. ต้องเคารพ และช่วยผดุงกฏหมายบ้านเมือง (Must respect and aid the law and the courts)15. สร้างความสัมพันธ์อันดีแก่ชุมชน (Seek to build its community)16. ไม่ทำลายความสัมพันธ์ระหว่างญาติและเพื่อนของผู้อื่น (Not injure the relatives and friends)17. คำนึงว่าการหย่าร้าง การฆ่าตัวตายนั้น เป็นปัญหาสังคมสิ่งหนึ่งไม่ควรเสนอข่าวไปในเชิงไม่สุภาพ(To recognize divorce, suicide as an unfortunate social problem)18. อย่ากล่าวโจมตีคู่แข่ง (Do not attack on competitive)19. อย่าหัวเราะเยาะความวิกลจริต จิตทราม หรือพลาดโอกาสของบุคคล (Do not ridicule the insane or the feebleminded or misfortunes)20. เคารพนับถือวัด โบสถ์ เชื้อชาติ และเผ่าพันธุ์ของบุคคล (Respect churches, nationalities and races)21. หน้ากีฬาควรเขียนถึงทุกๆ คน (Sports page is written for everybody)22. แก้ไขข้อผิดพลาดที่พบในทันที (Be prompt in correcting errors)23. จำไว้ว่าข่าวที่นำเสนอนั้น มีเยาวชนชายหญิงอ่านด้วย (Remember that the new is read by young boys and girls)ที่มา : หนังสือ The Complete Reporter ของ Kelly Leiter, Julian Harriss, Stanley Johnson


NEWSblank ข่าวออนไลน์
เรียนภาษาอังกฤษ | หอพัก | ดาวน์โหลด | vol6

No comments:

Post a Comment

Blog Archive