Thursday, February 28, 2013

ก.พลังงาน ประสานเสียง กฟผ. ยันสถานการณ์พลังงานไทยยังไม่เลวร้าย

ก.พลังงาน ประสานเสียง กฟผ. ยันสถานการณ์พลังงานไทยยังไม่เลวร้าย
ก.พลังงาน ประสานเสียง กฟผ. ยันสถานการณ์พลังงานไทยยังไม่เลวร้าย มีไฟฟ้าสำรองเพียงพอ เตรียมตั้งศูนย์รับซื้อไฟฟ้าระหว่างประเทศ ลดการนำเข้าก๊าซธรรมชาติมาผลิตไฟฟ้าเอง ด้านนายกสภาวิศวกร หนุนใช้พลังงานนิวเคลียร์วันที่ 28 ก.พ. ที่สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ถ.รามคำแหง สภาวิศวกรได้เชิญตัวแทนจากกระทรวงพลังงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) มาให้ข้อมูล “ความพร้อมของไทยต่อสถานการณ์พลังงาน” จากกรณีที่พม่าหยุดส่งก๊าซธรรมชาติให้ไทยในช่วงวันที่ 5-14 เม.ย.2556 เพื่อซ่อมบำรุงแหล่งก๊าซยานาดา ทำให้หลายหน่วยงานต้องเร่งหามาตรการมารองรับป้องกันวิกฤติพลังงาน เพื่อความมั่นใจให้แก่สมาชิกสภาวิศวกรว่า ประเทศไทยจะมีไฟฟ้าสำรองเพียงพอในช่วงเวลาดังกล่าว ทั้งนี้ นายจรรยงค์ วงศ์จันทร์พงษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายควบคุมระบบกำลังไฟฟ้า กฟผ. กล่าวว่า การหยุดส่งก๊าซดังกล่าวจะกระทบต่อการผลิตไฟฟ้าประมาณ 4.1 พันเมกะวัตต์ ที่จะหายไปจากระบบการผลิตไฟฟ้า และมีการประมาณการว่าในวันที่ 5 เมษายน จะผลิตกระแสไฟฟ้าได้ประมาณ 2.7 หมื่นเมกะวัตต์ ที่จะสามารถจ่ายไปยังประชาชนผู้บริโภคได้ ขณะที่มีการคาดการณ์ว่าวันดังกล่าวจะมีความต้องการใช้กระแสไฟฟ้าจำนวน 2.6 หมื่นเมกะวัตต์ และกำลังผลิตมาตรฐานที่ กฟผ.พยายามสำรองไว้ที่ 1.2 พันเมกะวัตต์ หากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นเรายังสามารถที่จะดึงส่วนนี้ขึ้นสำรองใช้ได้นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ รองผู้อำนวยการ สำนักนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน กล่าวว่า สถานการณ์พลังงานของประเทศไทยขณะนี้ยังไม่เลวร้าย เพราะกระทรวงพลังงานปรับแผนเชิงนโยบายลดการใช้ก๊าซเป็นพลังงานผลิตไฟฟ้ามาตลอด โดยขณะนี้กำลังเตรียมการศึกษาจัดตั้งศูนย์รับซื้อไฟฟ้าระหว่างประเทศ ในประเทศไทย เพื่อให้ประเทศไทยสามารถนำเข้าพลังงานไฟฟ้าโดยตรงจาก ลาว พม่า มาเลเซีย และจีนตอนใต้ ลดการนำเข้าก๊าซธรรมชาติมาผลิตไฟฟ้าเอง ซึ่งถ้าทำได้ จะมีการส่งเสริมให้มีการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำ และโรงไฟฟ้าถ่านหิน ในประเทศเหล่านี้มากขึ้นด้าน นายกมล ตรรกบุตร นายกสภาวิศวกร และกรรมการประสานงานโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ กล่าวว่า ไม่ต้องเป็นห่วงว่าประเทศไทยไฟจะดับ เพราะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการจัดการที่ดี มีการนำเข้าไฟฟ้าจากลาวและมาเลเซียมาชดเชยเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ในระยะยาว รัฐบาลจะต้องกระจายแหล่งพลังงานผลิตไฟฟ้า ไปยังถ่านหิน น้ำ และนิวเคลียร์ ทดแทนการใช้ก๊าซมากขึ้น โดยเฉพาะพลังงานนิวเคลียร์ ถ้าหากรัฐบาลคิดเดินหน้าตามแผนนโยบายพลังงานอย่างจริงจัง คือ สร้าง 2 โรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ จะทำให้ประเทศไทยมีพลังงานไฟฟ้าใช้ได้อีกนาน และประชาชนก็จะได้ใช้ไฟฟ้าได้ถูกเพียงยูนิตละ 4 บาทเท่านั้น

No comments:

Post a Comment

Blog Archive