Saturday, February 23, 2013

โซนนิ่งเมือง-ทักษะภาษา-บริการอิเล็กทรอนิกส์3คำขอมาร์ค บล็อกนันถึงผู้ว่าฯ กทม.

โซนนิ่งเมือง-ทักษะภาษา-บริการอิเล็กทรอนิกส์3คำขอมาร์ค บล็อกนันถึงผู้ว่าฯ กทม.
บล็อกเกอร์คนดัง มาร์ค Blognone มองอนาคตใหม่กรุงเทพฯ ฝาก 3 คำขอ เรื่องโซนนิ่งเมือง ภาษา และบริการอิเล็กทรอนิกส์ ถึงผู้ว่าฯ คนที่ 16...เข้าสู่ช่วงนับถอยหลังเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.คนที่ 16 เข้ามาทุกที บรรยากาศการหาเสียงและแสดงนโยบายเริ่มคึกคักมากขึ้นทุกขณะ คราวนี้ถึงเวลาฟังเสียงสะท้อนจากประชาชนที่มีต่อผู้ว่าฯ คนใหม่ กับแนวคิดจากบล็อกเกอร์คนดัง อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ หรือ มาร์ค บล็อกนัน (Blognone) หนึ่งในเจ้าของคอลัมน์ดนดังนั่งเขียนประจำหน้าวิทยาการ ไทยรัฐออนไลน์ ถึงว่าที่ผู้ว่าฯ คนที่ 16 ของกรุงเทพฯบล็อกเกอร์คนดัง ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์บล็อกนัน กล่าวถึงด้านดีของกรุงเทพฯ ว่า แม้จะดูเหมือนเป็นเมืองที่ไม่ให้โอกาสคน แต่ก็สามารถอยู่ได้ทั้งคนรวยคนจน มีรูปแบบการใช้ชีวิตที่ทุกชนชั้นสามารถอยู่ได้ลงตัว แม้จะแตกต่างกันเพียงวิถีชีวิต เรียกว่าเป็นเมืองที่รับได้กับคนทุกระดับ ส่วนด้านไม่ดีคือคนส่วนใหญ่ขาดจิตสำนึกสาธารณะ หมายถึงไม่มีความรู้สึกตระหนักถึงการเป็นเจ้าของสมบัติสาธารณะ เช่น ฟุตปาทหน้าบ้านใครคนนั้นก็จะมองว่าเป็นสมบัติของตัวเอง รวมไปถึงสมบัติสาธารณะอื่นๆ ในกรุงเทพฯ ทั้งถนน สวนสาธารณะ คนมักมองหาช่องทางเพื่อนำสิ่งนั้นๆ มาใช้ประโยชน์ส่วนตัวจนลืมนึกไปว่าสิ่งเหล่านั้นคือของส่วนรวมถ้าพูดถึงในมุมไอที สิ่งที่ไม่ชอบเลย คือ โครงสร้างพื้นฐานตามสาย พูดง่ายๆ คือ อินเทอร์เน็ตแบบเอดีเอสแอล เหมือนจะเข้าถึงเยอะ แต่เอาเข้าจริงคือเข้าไม่ถึงเพราะมีปัญหาเรื่องชุมสาย ต่อให้เป็นหมู่บ้านหรูแต่ถ้าชุมสายมีปัญหาก็ทำให้อินฟราสตรัคเจอร์ไม่ดี แน่นอนว่าด้านดีคือการเป็นศูนย์กลางของเมืองไทย ความเจริญทุกอย่างรวมถึงด้านไอทีก็อยู่ที่กรุงเทพฯมาร์ค บล็อกนัน กล่าวอีกว่า สิ่งที่อยากเห็นกรุงเทพฯ ในอนาคต คือ 1.การทำโซนนิ่งเมือง ที่ปัจจุบันยังไม่เข้มข้นเท่าไหร่ ควรแยกโซนที่พักอาศัยและทำงานออกจากกันอย่างชัดเจน ตอนนี้ยังเรียกว่ามั่วไปหมด บางคนมีห้างอยู่หน้าบ้าน ผมว่ามันทำให้คุณภาพชีวิตเราไม่ดี 2.อยากให้กรุงเทพฯ เปิดรับชาวต่างชาติมากขึ้น เน้นด้านภาษาให้มากขึ้น จากประสบการณ์ที่พบด้วยตัวเอง ผมเชื่อว่าชาวต่างชาติที่ขึ้นรถเมล์บ้านเราไม่มีทางไปไหนได้ถูก เพราะสื่อสารกันไม่รู้เรื่อง เลยอยากให้มีอินฟราสตรัคเจอร์ที่เปิดรับชาวต่างชาติมากขึ้น 3.ผมว่าเรื่องฟรี ไว-ไฟ บ้านเราค่อนข้างโอเค เพราะต้องยอมรับว่ายังไม่ค่อยเห็นเมืองที่ทำแล้วประสบความสำเร็จ จริงๆ แล้วไว-ไฟอาจไม่จำเป็นต้องฟรี เก็บเงินก็ได้แต่ต้องสามารถให้บริการได้ครอบคลุมเรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพฯ จริงๆ และควรปรับปรุงคือบริการประชาชนด้านอิเล็กทรอนิกส์ ปัจจุบันเว็บไซต์ของกรุงเทพฯ เองก็ยังห่วยมาก การติดต่อกับราชการหรือทำธุรกรรมทำเอกสารต่างๆ ก็ยังคงยากเย็นอยู่เช่นเดิม ผมว่าควรผลักดันให้สามารถทำได้ผ่านบริการอิเล็กทรอนิกส์ ถ้าเราอยากได้สำเนาอะไรสักอย่าง ทำไมเราป้อนข้อมูลและส่งสำเนามาให้ถึงบ้านผ่านไปรษณีย์ไม่ได้ ตัวอย่างนี้ช่วยอำนวยความสะดวกสบายและลดปัญหาการจราจรไปได้ในตัวในปีนี้เราเห็นผู้สมัครหลายท่านใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กเป็นช่องทางประชาสัมพันธ์ โพสต์ภาพ ลงนโยบาย แต่ไม่มีใครใช้เพื่อรับฟีดแบ็กจากประชาชนสักเท่าไหร่ อยากให้ผู้ว่าฯ คนใหม่ลองใช้วิธีด้านไอทีเพื่อรับเรื่องร้องเรียนหรือรับความคิดเห็น เพื่อใช้แก้ปัญหาอย่างทันท่วงทีและถูกจุด ถ้าหน้าออฟฟิศผมมีเสาไฟฟ้าขาด ผมก็ควรจะถ่ายรูปและส่งรายละเอียดไปให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อให้มาดำเนินการได้ทันที ช่องทางไอทีที่ประชาชนจะสามารถส่งเรื่องร้องเรียนไปให้หน่วยงานหรือทีมงานที่คอยรับเรื่องก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นเว็บไซต์อย่างเดียว ยังมีอีกหลายช่องทาง ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากเกินไปที่จะทำ.

No comments:

Post a Comment

Blog Archive